บทบาทพระสงฆ์กับการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้แต่ง

  • พระมหาไชยา ปญฺญาคโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาทพระสงฆ์, การศึกษาตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอบทบาทสำคัญของพระสงฆ์ในฐานะผู้นำทางการศึกษาของสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรม การศึกษาในโรงเรียนปริยัติสามัญ และการศึกษาในระดับโรงเรียนที่ขยายโอกาสให้กับชุมชน ผ่านความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน (บวร) โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน จากการศึกษาพบว่า พระสังฆาธิการมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ชุมชนผ่านองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านปรัชญาและทฤษฎี 2) ด้านหลักการและเป้าหมาย 3) ด้านกิจกรรมการจัดการศึกษา 4) ด้านการจัดการเรียนรู้และประเมินผล และ 5) ด้านแหล่งเรียนรู้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาชุมชนในสังคมไทยทั้งในด้านความสัมพันธ์เชิงเครือญาติและการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

Author Biography

พระมหาไชยา ปญฺญาคโม , มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Educational

References

กฤษณพันธ์ เพ็งศรี. (2553). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสําหรับผู้สูงอายุ. [ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2557). พื้นฐานการจัดการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). การศึกษาที่สากลบนพื้นฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระมหาไชยา หัดประกอบ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตโดยใช้วัดเป็นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2552). หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะนักบริหารระดับสูง กศน. เอกสารประกอบการฝึกอบรม การพัฒนาสมรรถนะ นักบริหารระดับสูง กศน. ปีงบประมาณ 2552. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุนทร สุนันท์ชัย. (2557). หลักปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต. เอกสารการสอนชุดวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ หน่วยที่ 1 เล่มที่ 1 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2533). จิตวิทยาการเรียนรู้ผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อัมพร พงษ์กังสนานันท์. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต. [ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2552). การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และรูปแบบการจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเตรียมความพร้อม เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้ใหญ่วัยแรงงาน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2557). คำจำกัดความ แนวคิดและลักษณะการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29