การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
Keywords:
การพัฒนาแบบทดสอบ, การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, เกณฑ์ปกติAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการหาคุณภาพของแบบทดสอบ สร้างเกณฑ์ปกติและคู่มือการใช้ ซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์โดยการอ้างอิงความรู้ ฉบับที่ 2 แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ โดยการอ้างอิงข้อมูลหรือข้อเท็จจริง กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 2 จำนวน 360 คน
ผลการศึกษา พบว่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของแบบทดสอบโดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 แบบทดสอบฉบับที่ 1 วัดความสามารถในการให้เหตุผลโดยการอ้างอิงความรู้ มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ .48 ถึง .69 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .24 ถึง .92 ความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR– 20 มีค่าเท่ากับ .89 และแบบทดสอบฉบับที่ 2 วัดความสามารถในการให้เหตุผลโดยการอ้างอิงข้อมูลหรือข้อเท็จจริง มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ .43 ถึง .72 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .24 ถึง .80 ความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR – 20 มีค่าเท่ากับ .87 เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบฉบับที่ 1 วัดความสามารถในการให้เหตุผลโดยการอ้างอิงความรู้ มีคะแนน T ปกติ ตั้งแต่ T28 ถึง T68 และแบบทดสอบฉบับที่ 2 วัดความสามารถในการให้เหตุผลโดยการอ้างอิงข้อมูลหรือข้อเท็จจริง มีคะแนน T ปกติ ตั้งแต่ T28 ถึง T69
คำสำคัญ: การพัฒนาแบบทดสอบ, การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, เกณฑ์ปกติ
This study was develop mathematics reasoning for Student Prathomsueksa 3 by determining test quality, constructing normal criteria as well as manauls. The mathematics reasoning test consist of two multiple-choice tests ; the first one was mathematics reasoning test by quaoting knowledge ; the second one was mathematics reasoning test by quoting data or matters of face. The sample was obtained by multi- stage random sampling from 360 students of prathomsueksa 3 under the office of Yala educational service Area Zone 2.
The result of the study are ;the content validity based on expert opinion on the correspondence between the test and mathematics reasoning ability including scoring criteria, showed index of item consistency values from 0.60 to 1.00. the first test with measured mathematics reasoning ability by quaoting knowledge ; has the value of item difficulty range from .48 to .69, item discrimination value range from .24 to .92, the reliability value test mean of KR – 20 at 0.89 and the second test with measured mathematics reasoning ability by quoting data or matters of face ; has the value of item difficulty range from .43 to .62, item discrimination value range from .24 to .80, the reliability value test mean of KR – 20 at 0.87. The normal criteria of test were : the first test with measured mathematics reasoning ability by quaoting knowledge showed normal T scores from T28 to T68 ; the second test with measured mathematics reasoning ability by quoting data or matters of face showed normal T scores from T28 to T69
Keywords: Developing Tests, Mathematical Reasoning Ability, norms