การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้จากบริบทจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้และความสามารถ ในการแก้ปัญหาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • กมลชนก วงษ์ปัจฉิม, 6852279 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Keywords:

ทฤษฎีการเรียนรู้จากบริบทจริง, แสวงหาความรู้, ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้จากบริบทจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหา ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้  โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ จากบริบทจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหา ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนี้  2.1) ความสามารถในการแสวงหาความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหา ระหว่างก่อนและหลังการทดลองของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2.2) ความสามารถในการแสวงหาความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหา ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้จากบริบทจริงกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการการเรียนรู้ จากแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้จากบริบทจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้  ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่เลือกจากประชากรโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดทำการสอนรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ หลักสูตรเทียบเคียงโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 9 ห้องเรียน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียน เป็นหน่วยในการสุ่ม จำนวน 2 ห้อง แล้วจับสลากเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน  ใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One – group Pretest – Posttest Design) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ  แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบที (t) แบบไม่เป็นอิสระ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2551). เพิ่มคุณภาพการเรียนรู้ด้วย Backward Design . กรุงเทพฯ:
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ:
โอเดียนสโตร์.
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. (2557). จิตวิทยาการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). เทคนิคการอ่าน Reading Techniques. กรุงเทพฯ :
ศิลปาบรรณนาคาร.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน Reading and reading
promotion.กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณนาคาร.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2 .
กรุงเทพฯ: : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์และคณะ. (2553). ดัชนีบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินคุณภาพ: รายงานการวิจัย
เสนอต่อสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน).
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สแควร์ปริ๊นซ์ 93 จำกัด.
ดนยา วงศ์ธนะชัย. (2542). การอ่านเพื่อชีวิต. พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม.
ทองดี ดวงรัตน์. (2554). การศึกษาความพร้อมในการส่งเสริมการอ่านภาษาไทย ของโรงเรียน
ปริยัติรังสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2542). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.
นันทวัน นันทวนิช. (2557). การประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของ PISA. สสวท, 42(186),40.
บันลือ พฤกษะวัน. (2557). แนวการพัฒนาการอ่านเร็ว คิดเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเทิน มหาขันธ์. (2530). การสอนอ่านเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปฐมาธิดา นาใจคง. (2544). ผลการใช้แผนผังทางปัญญาและการกำกับตนเองที่มีทัศนคติและ
ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนิตนันท์ บุญพามี. (2542). เทคนิคการอ่านเบื้องต้นสำหรับบรรณารักษ์. นครราชสีมา:
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2555). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2550). เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
นวสาส์นการพิมพ์.
ศุภิสรา ทองโพธิ์. (2550). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). ผลการประเมิน PISA 20012 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บทสรุปเพื่อการบริหาร. กรุงเทพฯ: บริษัท แอดวานซ์ พริ้นติ้ง เซอวิส จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2557). รายงานผลการทดสอบ คุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2556. อุดรธานี: กลุ่มงานวัดและ
ประเมินผลการศึกษา กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือการเรียนการสอน การอ่าน คิด วิเคราะห์ ตามแนวทางประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA). กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุกัญญา ศรีสืบสาย. (2551). การจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการการอ่านและการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2540). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2550). รายงานเรื่องคุณภาพและการประกันคุณภาพการศึกษาในวิถีทรรศน์การปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Anderson, N. (1999). Exploring Second Language Reading : Issues and strategies. Canada : Heinle and Heinle Publisher.
Babbs, P.J. & Moe, A.J. (1983). Metacognition: A Key for Independent Learning from Text.
Evans, R.W. (1989). A societal problems approach and the teaching history. Social Education. 80 , January, 50.
Gredler, M. (2001). Learning and instruction: Theory into practice. 4th ed. New York: Prentice Hall.
Schunk, D.H. and Zimmerman, B.J. (eds.). (1994). Self-regulation of learning and Performance: Issues and Education Application. New Jersey: Lewrence. 76 – 79.
Woolfolk, A.E.(1995). Educational psychology. New Jersey : Prentice-Hall.
Zimmerman, B. J.. (2002). Becoming a self- regulated learner: an overview. Journal of Theory Into Practice. Spring-Autumn: 64 – 70.

Downloads

Published

2019-12-15