การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในพื้นที่เกาะ ที่สมาชิกครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย

Authors

  • วิไลพิน แก้เพ็ง มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • อรพิน ทิพย์เดช มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords:

ระบบการดูและสุขภาพตนเอง, ผู้สูงอายุ, พื้นที่เกาะที่สมาชิกครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานที่ประเทศ, มาเลเซีย

Abstract

โครงการวิจัยเรื่องพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในพื้นที่เกาะที่สมาชิกครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในพื้นที่เกาะที่สมาชิกครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย โดยบูรณาการองค์ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับองค์ความรู้ที่เป็นหลักสากล เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในพื้นที่เกาะที่สมาชิกครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย ของจังหวัดสตูล โดยใช้ข้อมูลหลัก จำนวน  60 คน เป็นบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เกาะที่สมาชิกครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย ของจังหวัดสตูล ได้แก่ ตำบลปูยู ตำบลตันหยงโป ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลเกาะสาหร่าย และ ตำบลตำมะลัง

        ผลการวิจัยพบว่า สุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่เกาะที่สมาชิกครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย มีภาวะสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง โดยสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีความเข้าใจในการเลือกใช้บริการสุขภาพที่เหมาะสม มีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีพฤติกรรมการออกกำลังกาย และการบริโภคผักผลไม้ ส่วนการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ได้พัฒนาให้เกิดระบบการป้องกันที่เข้มแข็ง โดยหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมอบรมด้านระบบการออกกำลังกายและการทดสอบสมรรถภาพทางกายให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่เกาะที่สมาชิกครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย ให้สามารถช่วยเหลือตนเองในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอย่างเป็นระบบ มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลตามโครงการ

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. 2547. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ : เจ เอส การพมพิ ์.

ถือศีล ดิฐวัฒน์โยธิน .2549. ระบบการเปลี่ยนแปลงเมื่อวัยเปลี่ยนไป: บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560–2564). สืบค้นจาก
https://www.nesdb.go.th /ewt_news.php?nid=6420

ฤทธิชัย แกมนาค และสุภัชชา พันเลิศพาณิชย์ 2559 รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ วัดหัวฝายตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัด 104 เชียงราย. การประชุมวิชาการ ราชภัฏนครสวรรค์วิจัยคร้ังที่1. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; 2559.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลหนอง สาหร่าย.รายงานข้อมูลผสู้สงอายเทศบาลเมือง ปากช่อง ปี2558. นครราชสีมา; 2558

สรุปรายงานการประชุมสมัชชาโลก ว่าด้วยเรื่อง ผู้สูงอายุครั้งที่ 2 แผนปฏิบัติการนานาชาติ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ แมดริด 2002 (ฉบับย่อ) (Madrid International Plan of Action on Ageing 2002-MIPAA).
http://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20160403152328_1.pdf

Bauman, A., Merom, D., Bull, F. C., Buchner, D. M., & Singh, M. A. F. (2016). Updating the Evidence for Physical Activity: Summative Reviews of the Epidemiological Evidence, Prevalence, and Interventions to Promote “Active Aging”. Gerontologist. 56 Suppl 2:S268-80

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., and Parson, M.A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. 4 th ed. Upper Saddle River, N.J. : Prentia Hall.

United Nations, 2009a. World Population Prospects: The 2008 Revision. Sales No. 09.XII.6. New York: United Nations Population Division.

Van der Bij, A. K., Laurant, M. G. H., & Wensing, M. (2002). Effectiveness of physical activity interventions for older adults: a review. Am J Prev Med. 22(2): 120-33.

Downloads

Published

2020-06-25