ผลการใช้บทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการเขียนกรอบแนวคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Authors

  • ณัฐณิชา รูบามา
  • คณิตา นิจจรัลกุล
  • ชิดชนก เชิงเชาว์

Abstract

บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการเขียนกรอบแนวคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลกับการสอนแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนการเขียนกรอบแนวคิดของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลกับการสอนแบบปกติ และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา 5 โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดนพวงศาราม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คนกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิทัล, แผนการจัดการเรียนรู้, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, แบบประเมินทักษะการเขียนกรอบแนวคิด, และแบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ผลคะแนนการเขียนกรอบแนวคิดของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลสูงกว่าผลคะแนนการเขียนกรอบแนวคิดของผู้เรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ผลคะแนนการสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลโดยภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลในระดับมากที่สุดโดยภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลในระดับมากที่สุดซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 

 

Abstract : This research aims at identifying the effects of using digital simulations based on constructivist to enhance the conceptual framework and academic achievement.  The effects break into three objectives; (a) to compare the student academic achievement, (b) to compare the student conceptual framework skills, and (c) the student satisfaction. The sample groups are 60 fifth graders from Municipal 4 School and Anuban Pattani School, Pattani province. A group of 30 students is the control group and the other group of 30 students is the tester group. The research tools are the designed digital simulations, instruction plan, student academic achievement evaluation form, student conceptual framework skill evaluation form, and student satisfaction evaluation form. The result of the study: (a) the academic achievement of experiment group is significantly higher than the control group at the significant level of 0.05, (b) the conceptual framework score of experiment group is also significantly higher than the control group at the significant level of 0.05, and (c) students in experiment group have a very high level of satisfaction toward the designed digital simulations.

Downloads

Published

2017-02-21