การประยุกต์ใช้แผนผังวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดการความ เสี่ยงจากการทำงานของแรงงานกรีดยางพาราโดยชุมชนมีส่วนร่วม

Authors

  • สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน Prince of Songkla University
  • อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์ Prince of Songkla University
  • กุลทัต หงส์ชยางกูร Prince of Songkla University

Keywords:

แผนผังวิเคราะห์ความเสี่ยง, แรงงานกรีดยางพารา

Abstract

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานกรีดยางพาราที่ออกแบบโดยประยุกต์ใช้แผนผังวิเคราะห์ความเสี่ยงและการมีส่วนร่วมของชุมชน ภายใต้กรอบการจัดบริการอาชีวอนามัยขั้นพื้นฐาน (Basic Occupational Health Services: BOHS) ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาและสถานการณ์ความเสี่ยงทางสุขภาพ และการประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน (risk assessment) ในการจัดบริการของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงคือ แรงงานเกษตรกรกรีดยางพารา ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เก็บรวบรวมข้อมูลและพัฒนาโปรแกรมโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพแรงงานกรีดยาง ในการออกแบบการประเมินความเสี่ยง 3 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหาและระบุความเสี่ยง 2) การกำหนดเกณฑ์ประเมินความเสี่ยง และ 3) การวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยง  วิธีการเก็บข้อมูลใช้การทำสนทนากลุ่ม กลุ่มละ 6-12 คน รวม 3 ครั้ง การทบทวนวรรณกรรม และกระบวนการกลุ่ม

                                ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแรงงานกรีดยาง มี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ชีวภาพ เคมี การยศาสตร์ (เออร์โกโนมิกส์) จิตสังคม และอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ 2) การประยุกต์แผนผังวิเคราะห์ความเสี่ยงในการพัฒนาโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงจากการทำงานกรีดยางพารา  ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดค่าระดับคะแนนประเมินความเสี่ยงจากความตระหนักที่มีต่อปัญหาทั้งค่าความรุนแรงของผลกระทบทางสุขภาพและค่าความถี่หรือโอกาสของการเกิดเหตุการณ์ และ 3) แบบสอบถามสำหรับใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงของแรงงานกรีดยาง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และการประเมินความเสี่ยงในการทำงาน  ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการทำงานกรีดยางพาราของชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา  และใช้เป็นโปรแกรมพื้นฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานเกษตรกรกรีดยางพารา รวมทั้งสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนและดำเนินการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ไปประยุกต์ใช้โดยกำหนดค่าการประเมินความเสี่ยงจากความตระหนักของชุมชนเองได้เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ที่ต่างกัน และในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการนำโปรแกรมไปทดลองใช้จริงและปรับปรุงการใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Author Biographies

อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์, Prince of Songkla University

Assistant Professor Dr.P.H., Faculty of Nursing

กุลทัต หงส์ชยางกูร, Prince of Songkla University

Ph.D., Health System Management Institute

Downloads

Published

2018-02-04