ผลของการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหา SSCS ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • อิฟฟัต กาเดร์
  • ณัฐินี โมพันธ์
  • มัฮดี แวดราแม

Abstract

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหา SSCS ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนสะนอพิทยาคม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนรวม 15 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 15 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหา SSCS แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกภาคสนาม และแบบสัมภาษณ์ ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ยและการหาค่าคะแนนพัฒนาการ (Gain Score) ด้วยวิธีวัดคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ (Relative Gain Score) ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 30.22 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.89 (2) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการทางการเรียนหลังจากจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหา SSCS เฉลี่ยเท่ากับ 55.20 มีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง (3) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา สูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 20.42 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 69.17 (4) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน อยู่ในระดับค่อนข้างดี (5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหา SSCS อยู่ในระดับมาก

 

คำสำคัญ  :  การเรียนรู้วิธีการแบบเปิด, รูปแบบการแก้ปัญหา SSCS, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหา

 

 

* สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี   [email protected]

   ที่ปรึกษา  ดร.ณัฐินี  โมพันธ์  ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

 

ABSTRACT

 

          This research aimed to study the effect of Open Approach with SSCS problem solving learning model on science achievement, problem solving ability, and satisfaction with learning organizing of grade 10 students. The target group of this research was 15 students of grade 10 at Sanorpittayakom School, Yarang District, Pattani Province during the second semester of the 2015 academic year, received by purposive sampling.The research instruments were consisted of lesson plans of Open Approach with SSCS problem solving learning model on science , achievement test, problem solving ability test, student’ satisfaction test, field notes and interviewing has been completed implementation in 15 hours. The data were completed analyzed by Mean and for the gain score by relative gain score. The studies found that: (1) The students’ study achievement were developed comparing before and after the implementation, as the percentage shows; pre-test is 30.22 percent and post-test is 68.89 percent. (2) The students’ development were improve is mean 55.20 percent, progress in high level. (3) The students’ problem solving ability existed comparing by pre-test is 20.42 percent and post-test is 69.17 percent.(4) The students’ achievement levels and problem solving ability levels are fairly good after learning by the Science. (5) The students’ satisfaction were high level.

 

Keyword :  Open Approach, SSCS Problem Solving Learning Model, Science Achievement and  Problem  Solving  Ability

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหา SSCS ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนสะนอพิทยาคม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนรวม 15 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 15 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหา SSCS แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกภาคสนาม และแบบสัมภาษณ์ ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ยและการหาค่าคะแนนพัฒนาการ (Gain Score) ด้วยวิธีวัดคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ (Relative Gain Score) ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 30.22 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.89 (2) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการทางการเรียนหลังจากจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหา SSCS เฉลี่ยเท่ากับ 55.20 มีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง (3) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา สูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 20.42 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 69.17 (4) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน อยู่ในระดับค่อนข้างดี (5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหา SSCS อยู่ในระดับมาก

 

คำสำคัญ  :  การเรียนรู้วิธีการแบบเปิด, รูปแบบการแก้ปัญหา SSCS, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหา

 

 

 

 

 

ABSTRACT

 

          This research aimed to study the effect of Open Approach with SSCS problem solving learning model on science achievement, problem solving ability, and satisfaction with learning organizing of grade 10 students. The target group of this research was 15 students of grade 10 at Sanorpittayakom School, Yarang District, Pattani Province during the second semester of the 2015 academic year, received by purposive sampling.The research instruments were consisted of lesson plans of Open Approach with SSCS problem solving learning model on science , achievement test, problem solving ability test, student’ satisfaction test, field notes and interviewing has been completed implementation in 15 hours. The data were completed analyzed by Mean and for the gain score by relative gain score. The studies found that: (1) The students’ study achievement were developed comparing before and after the implementation, as the percentage shows; pre-test is 30.22 percent and post-test is 68.89 percent. (2) The students’ development were improve is mean 55.20 percent, progress in high level. (3) The students’ problem solving ability existed comparing by pre-test is 20.42 percent and post-test is 69.17 percent.(4) The students’ achievement levels and problem solving ability levels are fairly good after learning by the Science. (5) The students’ satisfaction were high level.

 

Keyword :  Open Approach, SSCS Problem Solving Learning Model, Science Achievement and  Problem  Solving  Ability

Downloads

Published

2018-02-04