การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดการจัดการความรู้ และการสอนงาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ คำมูล, 6852279 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ชาติชาย ม่วงปฐม, 6852279 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สมชาย วรกิจเกษมสกุล, 6852279 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์, 6852279 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวคิดการจัดการความรู้, แนวคิดการสอนงาน, ความสามารถในการสอนการอ่านและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา, ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา  โดยบูรณาการแนวคิดการจัดการความรู้และการสอนงาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนเชิงสร้างสรรค์  2) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา  โดยบูรณาการแนวคิด การจัดการความรู้และการสอนงาน  ประกอบด้วย  2.1) ศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนและหลังการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ 2.2) ศึกษาความสามารถในการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ                                 และการเขียนเชิงสร้างสรรค์  ดังนี้  2.2.1)  ศึกษาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 2.2.2) ศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจ  และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาต่อยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) ครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 100 คน เป็นนักเรียนของครูกลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้รูปแบบวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest Design) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ  แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทำการทดสอบที (t) แบบไม่เป็นอิสระ และแบบกลุ่มเดียว

 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยบูรณาการแนวคิดการจัดการความรู้และแนวคิดการสอนงาน มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการของยุทธศาสตร์ 2) แนวคิดของยุทธศาสตร์

3) จุดมุ่งหมายของยุทธศาสตร์ 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ ได้แก่ 4.1) กระบวนการด้านการจัดการการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยบูรณาการแนวคิดการจัดการความรู้และการสอนงาน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นการสร้างความตระหนัก (2) ขั้นการเรียนรู้และร่วมสร้างงาน (3) ขั้นการปฏิบัติการพัฒนาและเรียนรู้ ครั้งที่ 1 (4) ขั้นการสะท้อนความรู้ครั้งที่ 1 (5) ขั้นการปฏิบัติการพัฒนาและเรียนรู้  ครั้งที่ 2 (6) ขั้นการสะท้อนความรู้ ครั้งที่ 2                          และ (7) ขั้นการนำเสนอผลงาน 4.2) ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยปัจจัยสนับสนุน 2 ด้านได้แก่  ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ และด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน 5) การวัดและประเมินผลของยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ โดยผลการประเมินยุทธศาสตร์ การจัดการการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 

  1. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ พบว่า

2.1) ครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจในการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนเชิงสร้างสรรค์  หลังการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ และมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์

2.2) ครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา มีความสามารถในการแผนการจัดการการเรียนรู้หลังการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์

2.3)  ครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา มีพฤติกรรมการจัดการการเรียนรู้ หลังการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์

2.4)  ครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา  มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้  โดยใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

2.5) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ  หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์

2.6) นักเรียนมีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์  หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์

 

References

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2555). การพัฒนาสมรรถนะ (Competency) ของ บุคลากร : ผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
วิจารณ์ พานิช. (2547). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
ศิริวัฒน์ เฮงไชโย. (2542). การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ กลุ่มสถาบันราชภัฎภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร.
สามารถ ทิมนาค. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 4. (2558). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีการศึกษา 2557. อุดรธานี: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 4.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาไทย . (2553). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำลี ทองทิว. (2545). หลักและแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา: กรณีวิชา วิทยาศาสตร์ระดับสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2548). การพัฒนาศักยภาพอย่างสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: รามาการพิมพ์.
Biggs, John B. & Moore, Phillip J. (1993). Process of Learning. 3thed. Sydney: Prentice Hall.
Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill.
Brooks, J. G., & Brooks., M. G. (1993). In Search of Understanding: The Case for the Constructivist Classroom. Alexandria , VA : ASCD.
Bruner, Jerome. (1977). The Process of Education. Massachustts: Harvard University Press
Costa, Arthur L. & Robert. J. Garmston. (2002). Cognitive Coaching Foundations Seminar Learning Guide. Highlands Ranch, Co: Center for Cognitive Coaching.
Davenport, T. H. & Prusak, L. (1998). Working Knowledge: How Organizations Manage What They Know. Harvard Business School Press, Boston, MA.
Henderson, J. G. (1996). Reflective Teaching : The Study of your Constructivists Practices. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.
Knowles, M. S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. Englewood Cliffs: Prentice Hall/Cambridge.
Nonaka, I. (1998). The knowledge-creating company. Harvard Business Review, 69(6), 96-104.
O’Dell, C. & Grayson, C. J. (1998). If only we knew what we know: identification and transfer of internal best practice. California Management Review.
Piaget, J. (1978). Behavior and evolution (D. Nicholson-Smith, Trans.) New York: Random House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26