การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองผ่านสื่อเสมือนจริงที่มีผลต่อทักษะ การท่องจำอัลหะดีษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • Muhammad-asmin Jehtae นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, จังหวัดยะลา
  • มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, จังหวัดยะลา
  • อับดุลรอแม สุหลง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, สถานการณ์จำลองผ่านสื่อเสมือนจริง, อัลหะดีษ, ทักษะการท่องจำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองผ่านสื่อเสมือนจริงที่มีต่อทักษะการท่องจำอัลหะดีษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการท่องจำอัลหะดีษของผู้เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองผ่านสื่อเสมือนจริงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จําลองรายวิชาอัลหะดีษก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองผ่านสื่อเสมือนจริงที่มีต่อทักษะการท่องจำอัลหะดีษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสามัคคีธรรมวิทยาอำเภอทุ่งยางแดง จำนวน 22 คน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลหะดีษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดทักษะการท่องจำอัลหะดีษ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า

 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองผ่านสื่อเสมือนจริง มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด E1/E2 = 89.95/85.68

 2) ทักษะการท่องจำอัลหะดีษของผู้เรียน (m = 154.50, σ = 11.56) สูงกว่าก่อนเรียน (m = 170.36, σ = 6.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จําลองรายวิชาอัลหะดีษ (m = 22, σ = 5.45) สูงกว่าก่อนเรียน (m=33.50, σ= 5.52อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01

4) ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองผ่านสื่อเสมือนจริงที่มีต่อทักษะการท่องจำอัลหะดีษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.04, S.D.= 0.90)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรอิสลามศึกษาพุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ซูกายนะห์. (2564 : บทคัดย่อ) การพัฒนาทักษะการอ่านและท่องจำอัลหะดีษโดยใช้หนังสือนิทานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับประเทศไทย. (2008). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านพร้อมความหมายภาษาไทซาอุดิอา ระเบีย : ศูนย์กษัตริย์ ฟัฮดฺ เพื่อการพิมพ์อัลกุรอานแห่งนครมาดีนะฮ์

มุมีนะห์ มาปะ. (24 ธันวาคม 2565) ครูอิสลามศึกษาโรงเรียนสามัคคีธรรมวิทยา. สัมภาษณ์

มูฮำหมัดเซากี นาแว. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเสมือนจริง AR สาระวิชาอัลฟิกฮ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.และมนุษยศาสตรมหาวิทยาลัยมหิดล.

แวอิสม๊ะ แวมุสตอฟา. (2555). การพัฒนาชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิชาอัลฮาดิษตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 เรื่องเนื้อหาและแก่นแท้อัลฮาดีษอีหม่ามบูคอรีสำหรับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

สุริยะ ปทุมรัตน์. (2019). ผลการใช้สถานการณ์จำลองในรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อความสามารถและความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

สุขสม สิวะอมรรัตน์. (2552). ผลของการใช้สถานการณ์จําลองทีมีต่อความสามารถในการทำงาน กลุ่มของ นักเรียนชันประถมศึกษา ปีที 5 โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บํารุง เขตบางซื่อ. กรุงเทพมหานคร.

อับดุลอาซิ เด็ง. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านอัลกุรอานโดยใช้ AR Book สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

อาหมัด มูดอ. (2557). การพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านจริยธรรม สาระอัลหะดีษโดยใช้นิทานสำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนต้น ปีที่ 4 วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต. (2551). ปรัชญาการศึกษาอิสลาม. สงขลา : หาดใหญ่กราฟฟิก

Al baihaqi. (2003). Al-sunan Alkubra, Darul kutub Al Ilmiyyah.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28