การวิเคราะห์การรับรู้และศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล

Authors

  • ธนภณ บุญพลอย นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา อาจารย์ประจาสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โรงเรียนมาตรฐานสากล, การรับรู้, ศักยภาพ, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, WORLD-CLASS STANDARD SCHOOL, PERCEPTION, POTENTIAL, SELF EFFICACY

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล (2) วิเคราะห์การรับรู้และศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล และ (3) วิเคราะห์ตัวแปรจาแนกการรับรู้และศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล รุ่นที่ 2 จานวน 358 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์จำแนก

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) หลักสูตรของโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากลเป็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ที่เพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ที่มีความเป็นสากล คือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ประกอบด้วย 3 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ IS2 การสื่อสารและการนำเสนอ และ IS3 การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม ซึ่งใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่า บันได 5 ขั้นของการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล และมีหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2) การรับรู้ของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากลโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้มากที่สุดในด้านเป้าหมายคุณภาพนักเรียน ส่วนศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีศักยภาพด้านการให้คาปรึกษาแก่ผู้เรียนในสาระการเรียนรู้ที่มีความเป็นสากลมากที่สุด (3) ตัวแปรจำแนกการรับรู้และศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากลที่ดีที่สุด คือ ตัวแปรดัมมี่ความเป็นครูที่มีการศึกษาระดับปริญญาโท และ ตัวแปรดัมมี่ความเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ตามลำดับ

คำสำคัญ:โรงเรียนมาตรฐานสากล/ การรับรู้/ ศักยภาพ/ การรับรู้ความสามารถของตนเอง

 

Abstract

The research objectives are:(1) to analyze instructional management with world-class standards;(2) to analyze teachers’ perception and potential in instructional management moving towards world-class standards; and (3) analyze the predictor of teachers’ perception and potential in instructional school management moving towards world-class standards. The research methodology is quantitative based on questionnaires by 358 schools teachers, who participated in the 2nd class of World Class Standard School.

The analysis consisted of descriptive statistics and discriminant analysis, which can be concluded as follows: (1) The curriculum is based on Basic Education Core Curriculum 2008 by supplementing a subject which is international, called IS or Independent Study. It consists of three key areas: IS1 Research and Knowledge Formation, IS2 Communication and Presentation and IS3 Social Service Activity. The teaching procedure followed five steps. Assessment and evaluation was conducted according to the Basic Education Core Curriculum 2008; (2) teachers in schools moving towards world-class standards have good perception of instructional management with the best perception of learner’s quality goal. In addition, teachers’ potential was average. The proficiency goes giving guidance to students; (3)the best predictorof teachers’ perception and potential in instructional management moving towards world-class standards was the Master's degree dummy and large school size dummy, respectively.

KEYWORDS: WORLD-CLASS STANDARD SCHOOL / PERCEPTION / POTENTIAL/ SELF EFFICACY

Downloads

How to Cite

บุญพลอย ธ., & สุวรรณมรรคา ส. (2014). การวิเคราะห์การรับรู้และศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล. An Online Journal of Education, 9(2), 267–281. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20356