ความคิดเห็นของนักแปลฝึกหัดเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักแปลที่ดี

ผู้แต่ง

  • พุทธชาด ลิ้มศิริเรืองไร สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

คุณสมบัติของนักแปล, ความคิดเห็น, นักแปลฝึกหัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความคิดเห็นของนักแปลฝึกหัดเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีที่นักแปลพึงมี ตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการแปลทางภาษาอังกฤษธุรกิจเบื้องต้นในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2562 จำนวน 67 คน ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า คุณสมบัติของนักแปลที่ดีอันดับแรก คือ ลักษณะนิสัยส่วนตัวที่ส่งเสริมการแปลในแง่มีความรู้รอบตัว (M = 4.38) รองลงมาคือ ความสามารถด้านต้นฉบับและฉบับแปลในแง่สามารถเขียนสื่อความหมายในฉบับแปลได้ชัดเจน (M = 4.25) และความรู้ด้านหลักวิธีการแปลในแง่มีความรู้ด้านทฤษฎี และ/หรือหลักการแปล (M = 4.20) ตามลำดับ ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ระบุว่า นักแปลที่ดีต้องรักการอ่าน ต้องใส่ใจการแปล หมั่นฝึกฝนตนเพื่อให้สามารถสร้างงานที่มีคุณภาพสื่อความหมายได้ถูกต้อง ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการแปลเพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษาหรือนักแปลฝึกหัดได้ฝึกฝนตนให้มีคุณสมบัติของนักแปลที่ดี

Author Biography

พุทธชาด ลิ้มศิริเรืองไร, สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

A lecturer of Business English Program,

Faculty of Humanities and Social Sciences

References

ดวงตา สุพล. (2541). ทฤษฎีและกลวิธีการแปล. ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผ่องศรี ลือพร้อมชัย. (2559). การแปลให้เก่ง: คู่มือนักแปลมืออาชีพ. สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย.

พิมพันธุ์ เวสสะโกศล. (2546). การศึกษาสำรวจคุณสมบัติของนักแปล. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3(1), 79-94.

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิทธา พินิจภูวดล. (2543). คู่มือนักแปลอาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์.

อัจฉรา ไล่ศัตรูไกล. (2560). ตำรา EN 322 จุดมุ่งหมาย หลักการและวิธีแปล (Nature and Method of Translations). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Catford, J. C. (1965). A linguistic theory of translation. Oxford University Press.

Larson, M. (1988). Meaning-based translation: A guide to cross-language equivalence. Oxford University Press.

Newmark, P. (1988). A textbook of translation. Pergamon Press.

Nida, E. A. (1964). Toward a science of translation. Leiden: E. J. Brill.

Nida, E. (1982). The theory and practice of translation. Leiden: E.J. Brill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

How to Cite

ลิ้มศิริเรืองไร พ. (2020). ความคิดเห็นของนักแปลฝึกหัดเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักแปลที่ดี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), OJED1502037 (14 pages). สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/240001