การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตประกอบการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ชุลีวัลย์ รักษาภักดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วสันต์ ศรีหิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • อิชยา จีนะกาญจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สุภาวดี ศรีหิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/ojed.2024.6

คำสำคัญ:

การเรียนออนไลน์, ระบบอินเทอร์เน็ต, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้อินเทอร์เน็ต และปัญหาในการใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 361 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตประกอบการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น มีประสบการณ์ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและมักใช้ภาษาไทย ด้านการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับมาก (M = 3.90, SD = 0.33) และด้านการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัยอยู่ในระดับมาก (M = 3.93, SD = 0.38) 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนออนไลน์ พบว่า ระบบอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยไม่ราบรื่นเท่าที่ควรส่งผลต่อการเรียนออนไลน์ อาจารย์ผู้สอนบางรายไม่มีการเตรียมการสอนแบบออนไลน์ และพื้นที่ในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ต และ 3) ปัญหาในการใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนออนไลน์ พบว่า พื้นที่ให้บริการไม่เพียงพอ คอมพิวเตอร์แม่ข่ายมีประสิทธิภาพต่ำเกิดความล่าช้าบ่อยครั้ง ภาษาอังกฤษยังเป็นอุปสรรคของนักศึกษาในการใช้งานอินเทอร์เน็ต และอาจารย์ผู้สอนบางรายไม่ให้ความสำคัญในการเรียนออนไลน์

Author Biographies

ชุลีวัลย์ รักษาภักดี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

  

วสันต์ ศรีหิรัญ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์ประจําสาขาวิชานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

อิชยา จีนะกาญจน์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์ประจําสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

สุภาวดี ศรีหิรัญ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์ประจําสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

References

ภาษาไทย

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), A1-A6.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 16). กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://www.mhesi.go.th/images/Pusit2021/pdfs/16-AnnCovidE.pdf

ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พงศธร สิทธิจันทร์, อนุสรา นิลวัลย์, และ สมิตา กลิ่นพงศ์. (2564, พฤษภาคม). ทัศนคติต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดจันทบุรีในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 [Paper presentation]. การประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการนวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ครั้งที่ 8 สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี, ประเทศไทย.

มารุต พัฒผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย วงศ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนพร จตุรานนท์. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนออนไลน์และความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนผ่านระบบออนไลน์ ของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาภาษาจีน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 7(2), 291-310.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สริตา เจือศรีกุล, อำไพ ตีรณสาร, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ, ณัฐพล ศรีใจ, มรุต มากขาว, วนาลี ชาฌรังสี, สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล, สุภัญญา สมทา, และ อริสรา วิโรจน์. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะปฏิบัติออนไลน์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน: กรณีศึกษาสถานการณ์โควิด 19. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(2). 99-114.

ภาษาอังกฤษ

Barron, A. E., & Ivers, K. S. (1996). The Internet and Instruction: Ideas and Activities. Englewood. Libraries Unlimited.

Bahman, Y. S., Azam, A., Tayebe, G., Fatemeh, H. B., & Jaber J. (2014). A Survey of Amount of Internet Usage Among High School Students of Khadr Country and its Impacts on Student. Online Information Review Science Direct Procedia – Social and Behavioral Sciences, 114(2), 610-616.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(2), 297 – 334.

Tuncer, M. (2013). Vocational School Students’ Attitudes Towards Internet. Science Direct Procedia – Social and Behavioral Sciences, 103(2). 1303-1308.

Mohammadi, N., Ghorbani V., & Hamidi F. (2011). Effects of E-learning on Language Learning. Science Direct Procedia Computer Sciences, 3(1). 464 – 468. https://doi.org/10.1016/j.procs.2010.12.078

Vasilis, G., Kleopatra, N., & George, K. (2013). Student Teachers’ Perception about the Impact of Internet Usage on Their Learning and Jobs. ELSEVIER Computer & Education, 62(1). 1–7.

Vught, F. V. (1997). Information Technology: The Next Step in the Development of Academic Institutions. In NUFFIC Seminar on: Virtual Mobility: New Technologies and Internationalization. Jossey-Bass.

Teena, W., S. Alexandria, A., Eileen, W., Julie, M., & Craig, R. (2009). Fast Searching for Information on the Internet to use in a Learning Context: The Impact of Domain Knowledge. ELSEVIER Computer & Education, 52(2). 640-648.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-14

How to Cite

รักษาภักดี ช., ศรีหิรัญ ว., จีนะกาญจน์ อ., & ศรีหิรัญ ส. (2024). การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตประกอบการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 19(2), OJED1902006 (15 pages). https://doi.org/10.14456/ojed.2024.6