การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบบาร์โมเดลร่วมกับกลวิธี STAR

ผู้แต่ง

  • วิลัยวรรณ มาวัน โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร กรุงเทพมหานคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/ojed.2024.7

คำสำคัญ:

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์, โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, บาร์โมเดล, กลวิธี STAR

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบบาร์โมเดลร่วมกับกลวิธี STAR ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบบาร์โมเดลร่วมกับกลวิธี STAR ระหว่างหลังเรียนและก่อนเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบบาร์โมเดลร่วมกับกลวิธี STAR กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร จำนวน 16 คน ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แผนการเรียนรู้จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบแบบ dependent t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ 82.42/82.50 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) คะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) ความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (M = 4.63) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.08)

Author Biography

วิลัยวรรณ มาวัน, โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร กรุงเทพมหานคร

ครูประจําโรงเรียนวัดเทวราชกุญชร สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

   

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันตรา ธรรมแพทย์ (2550). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตํ่า [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบการทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตรวิจัย, 5(1), 7-20.

ดารณี เกตุประกอบ. (2564) การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง การบวกและการลบ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา

เปตา กิ่งชัยวงศ์. (2545). การพัฒนาแบบฝึกเรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

พรพรรษา เชื้อวีระชน. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา เศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรเพ็ญ ศรีเกษม. (2562). การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับบาร์โมเดลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารราชนครินทร์, 16(1), 109-117.

ภัทรลภา เปี่ยมสุข. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการ

สอนเอสเอสซีเอสร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].

โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร. (2565). รายงานผลประเมินคุณภาพผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT) ประจำปีการศึกษา 2564.

วรณัน ขุนศรี. (2546). การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. วารสารวิชาการ. 6(3), 73-75.

ศิริลักษณ์ ใชสงคราม. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model) [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สมบูรณ์ พรมท้าว. (2547). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณ การหารชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

สุริยัน เขตบรรจง และ ปาวาริศา สมาฤกษ์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยใช้เทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารครุศาสตร์, 50(1). https://doi.org/10.58837/CHULA.EDUCU.50.1.11

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565. (ม.ป.ป.). https://drive.google.com/file/d/18JQtXeFi8tnN2B8_k2KXTvhCkD89Ubyl/view?fbclid=IwAR35m-OsIF1hNNZS8H73Lch1CEYKQUkARE9CGU8T6auQRriOg4N8TJrv67M

อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์การสอนและการเรียนรู้. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อุรารักษ์ ลากุลเพลิน. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะแก้ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคลกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

ภาษาอังกฤษ

Bruner, J. S. (1993). Explaining and interpreting: Two ways of using mind. In G. Harman (Ed.), Conception of the human mind: Essays in honor of George A. Miller. Lawrence Erlbaum Associates.

Cheong, Y. K. (2002). The model method in Singapore. The Mathematics Educator, 6(2), 47–64.

Ebel, R.L. and Frisbie, D.A. (1986). Essentials of Educational Measurement. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Maccini, P. & Gagnon, J. (2011). Mathematics Strategy Instruction (SI) for Middle School Studentswith Learning Disabilities.

http://www.ldonline.org/article/Mathematics_Strategy_Instruction_%28SI%29_for_Middle_School_Students_with_Learning_Disabilities

Maccini, P., & Hughes, C. A. (2000). Effects of a Problem-Solving Strategy on the Introductory Algebra Performance of Secondary Students With Learning Disabilities. Learning Disabilities Research & Practice, 15(1), 10–21. https://doi.org/10.1207/SLDRP1501_2

Maccini, P., & Gagnon, J. (2006). Mathematics strategy instruction (SI) for middle school students with learning disabilities. The Access Center. http://www.k8accesscenter.org/training_resources/massini.asp

Mahoney, K.T. (2012). Effects of Singapore's Model Method on elementary student problem solving performance [Doctoral dissertation, Northeastern University]. Northeastern University ProQuest Dissertations & Theses.

Maslow, A. (1970). Motivation and personality. Harper and Row.

Skinner, B.F. (1953). Science and Human Behavior. New York: Free Press.

Har, Y.B. (2008). Developing mathematical thinking in Singaporeelementary schools. http://archive.criced.tsukuba.ac.jp/data/2009/02/Yeap_Ban_Har.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-14

How to Cite

มาวัน ว. . (2024). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบบาร์โมเดลร่วมกับกลวิธี STAR. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 19(2), OJED1902007 (14 pages). https://doi.org/10.14456/ojed.2024.7