ความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์และการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง

ผู้แต่ง

  • อภินันท์ โพธิ์แก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ไพโรจน์ น่วมนุ่ม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/ojed.2024.2

คำสำคัญ:

ตัวแทนทางคณิตศาสตร์, การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, ชีวิตจริง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม 2) ศึกษาระดับความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงของนักเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม และ 4) ศึกษาระดับความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำแนกเป็น 2 กลุ่ม จำนวน 414 คน และ 398 คน เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์และการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงในระดับปรับปรุงมากที่สุด 3) นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงในระดับปรับปรุงมากที่สุด

Author Biographies

อภินันท์ โพธิ์แก้ว, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

   

ไพโรจน์ น่วมนุ่ม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. https://www.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2020/10/CoreCurriculum2551-th.pdf

กุลนิดา ปลื้มปิติวิริยะเวช. (2559). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54888.

จงกล ทำสวน และ ศันสนีย์ เณรเทียน. (2564). แนวทางการออกแบบปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริงกับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(4), 1-12.

จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนิสิตฝึกหัดครู วิชาเอกคณิตศาสตร์. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78081

ธัญวรัตน์ สมทรัพย์. (2564). กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมากับการพัฒนาความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79676.

ปวิตร เขตต์ชลประทาน. (2562). การศึกษาความรู้ทางสถิติ และการคิดเชิงสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70003

วีรพล เทพบรรหาร. (2560). ผลการใช้ตัวแทนความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58435

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559). การพัฒนารูปแบบเครื่องมือการวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. https://www.niets.or.th/th/content/view/5275

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2555). การวัดประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2557). ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ PISA 2012. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ. พริ้นติ้ง. https://pisathailand.ipst.ac.th/isbn-9786163620248/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. https://drive.google.com/file/d/19xvsLP_bLN8q6wkzX9hVIvV_TS4hyuGa/view

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2566). ผลการประเมิน PISA 2022. https://drive.google.com/file/d/1mCy9AvXYbDOY85QG1xB2r1EFs-PkTpOX/view

อภิชญา ลือชัย. (2555). การวิเคราะห์ทักษะที่ใช้ในการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42217

ภาษาอังกฤษ

Blum, W., & Niss, M. (1991). Applied Mathematical problem solving, modelling, applications, and links to other subjects - State, trends and issues in mathematics instruction. Educational Studies in Mathematics, 22(1), 37-68. https://doi.org/10.1007/bf00302716

Cai, J. (2003). Singaporean students’ mathematical thinking in problem solving and posing: an exploratory study. International Journal of Mathematical Education in Science and Technology, 34(5), 719-737. https://doi.org/10.1080/00207390310001595401

Cheng, L. (2013). The design of a mathematics problem using real-life context for young children. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 36(1), 23-43.

Johar, R., & Lubis, K. R. (2018). The analysis of student’s mathematical representation errors in solving word problem related to graph. Jurnal Riset Pendidikan Matematika, 5(1), 96. https://doi.org/10.21831/jrpm.v5i1.17277

National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2000). Principles and Standards of School Mathematics. https://www.nctm.org/Standards-and-Positions/Principles-and-Standards/

Lesh, R. (1981). Applied mathematical problem solving. Educational Studies in Mathematics, 12(2), 235-264. https://doi.org/10.1007/bf00305624

The Organisation for Economic Co-Operation and Development (OCED). (2018). PiSA 2022 MATHEMATICS FRAMEWORK (DRAFT). [Online]. Retrieved from: https://pisa2022-maths.oecd.org/ca/index.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-14

How to Cite

โพธิ์แก้ว อ. ., & น่วมนุ่ม ไ. . (2024). ความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์และการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 19(2), OJED1902002 (14 pages). https://doi.org/10.14456/ojed.2024.2