ปรัชญาของคนอีสานในยุค 4.0 : เฉพาะกรณี ฮีต 12 คอง 14
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักปรัชญาของคนอีสานในยุค 4.0 โดยใช้แนวทางฮีต 12 คลอง 14 เป็นกรณีศึกษา จากการวิเคราะห์พบว่า ฮีตคอง เป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญมากสำหรับชาวอีสาน เป็นประเพณีที่ช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้ เพราะเป็นการดำเนินชีวิตที่มีกลิ่นไอของพระพุทธศาสนาร่วมด้วย แนวปฏิบัติที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นนี้ สามารถปรับเข้ากับวิถีชีวิตชาวอีสานได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะชาวอีสานในยุค 4.0 ที่เป็นยุคแห่งความทันสมัยในทุก ๆ ด้าน แต่ความท้าทายของการปฏิบัติตามฮีตคอง มีสาเหตุมาจากการไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม การขาดผู้นำในการสืบสานประเพณี การรับเอาวัฒนธรรมต่างถิ่นเข้ามาเผยแพร่มากเกินไป และบทบาทของสมาชิกในสังคมที่เปลี่ยนไปตามค่านิยมโลก ดังนั้น การนําฮีตคองมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาสังคมจึงเหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะการแก้ไขปัญหาสังคมในยุคเทคโนโลยีด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม ถือเป็นกุศโลบายที่แยบยลที่สุด ลดแรงเสียดทานได้มากที่สุด และเข้ากับวิถีชีวิตผู้คนในท้องถิ่นมากที่สุด ทั้งนี้ ภาครัฐอาจนำแนวคิดนี้ไปปรับเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างความสามัคคี ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟูฮีตคอง และยุทธศาสตร์การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ ดังนั้น วิถีชีวิตตามแนวทางฮีตคองแบบดั้งเดิมนี้ สามารถเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้ และส่งผลให้ฮีตคองคงอยู่ในชุมชนและในประเทศชาติสืบต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2520). ของดีอีสาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
ปรีชา พิณทอง. (2530). ประเพณีโบราณอีสาน. อุบลราชธานี: ศิริธรรม.
พัฒนา กิติอาษา. (2557). สู่วิถีอีสานใหม่. กรุงเทพมหานคร: วิภาษา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). ประมวลสาระชุดวิชาไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สวิง บุญเจิม. (2554). มรดกอีสาน. อุบลราชธานี: มรดกอีสาน.
สำนักวัฒนธรรม ฝ่ายวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ไม่ปรากฏปีที่เผยแพร่). ฐานข้อมูลฮีตสิบสองคองสิบสี่. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2562 จาก https://1th.me/KZQZr.
สุระ อุณวงศ์. (2542). ผญา. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.