บุญผะเหวด : ศรัทธา ความหวัง บนพื้นฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ของชาวอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบุญผะเหวดของชาวอีสาน ที่ประกอบด้วยความศรัทธาและความหวังอันตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า บุญผะเหวดเป็นฮีตประจาเดือน 4 ในประเพณีฮีต 12 ของชาวอีสาน ซึ่งจะกระทาในระหว่างเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงกลางเดือน 5 ประเพณีบุญผะเหวดนี้ ชาวอีสานยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้าง โดยประเพณีนี้จัดทาขึ้นด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเมื่อกระทาแล้วก็หวังอานิสงส์เพื่อความมีชีวิตที่ดีในชาติหน้า ความหวังดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อในพระพุทธศาสนาว่า ถ้าใครฟังเทศน์เรื่องเวสสันดรชาดกในบุญผะเหวด ซึ่งมี 13 กัณฑ์ 1,000 พระคาถา จบในภายในวันเดียว จะมีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ จะได้เกิดพบกับพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป ที่มีพระนามว่า พระศรีอาริย์ หรือพระศรีอริยเมตไตรย บุญผะเหวดมีคุณค่าทางจริยธรรมต่อสังคมอีสานหลายด้าน ได้แก่ คุณค่าด้านความเชื่อในอานิสงส์ของบุญและกฎแห่งกรรม แม้รูปแบบการจัดงานประเพณีบุญผะเหวดในปัจจุบันจะเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่สาระสาคัญหรือแก่นประเพณียังคงอยู่ นอกจากนี้ บุญผะเหวดยังถือว่าเป็นวันรวมญาติ เพราะในวันโฮมหรือวันเตรียมงานนั้น คนในหมู่บ้านจะต้องมาช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ ประดับตกแต่งศาลาให้สวยงาม และจัดเตรียมข้าวปลาอาหารไว้คอยต้อนรับพุทธศาสนิกชนจาก
Received: 14 December 2019 ; Revised: 20 January 2020; Accepted: 10 April 2020
2 Sueksitalai Journal Vol.1 No.1 (January – April 2020)
หมู่บ้านต่าง ๆ ที่จะมาร่วมงานประเพณี ดังนั้น ประเพณีบุญผะเหวดจึงเป็นมากกว่าประเพณีประจาท้องถิ่น แต่เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่สั่งสมและสืบทอดมาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชุมชนอีสาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
กมล บุญเขต และคณะ. (2558). ประเพณีบุญผะเหวด : กรณีศึกษาประเพณีบุญผะเหวดชาวไทย-หล่ม อาเภอหล่มสักและอาเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจาปี 2557 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที 2 “งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. 14 กุมภาพันธ์ 2558, 496-501.
กรมการศาสนา. (2558). การเทศน์มหาชาติ องค์ความรู้เวสสันดรชาดก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ขนิษฐา ช่องงาม. ประเพณีท้องภาคถิ่นอีสาน.(2554). เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2562. จากhttp://Khanitha56-khanitha.blogspot.com/
จักรมนตรี ชนะพันธ์. บุญผะเหวดอีสาน : กับมหาทานบารมี. (2560). เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2562จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_6667
ธนิต อยู่โพธิ์. ตานานเทศน์มหาชาติ. (2524). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
บรรจง ลาวะลี. บุยผะเหวด : การเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการงานบุญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจละสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ในอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6(1), 51-63.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 9. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์.
อเนก อาจวิชัย. (2551). แนวทางการฟื้นฟูประเพณีบุญผะเหวดของชาวผู้ไทย จังหวัดมุกดาหาร เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.