การศึกษาเชิงวิเคราะห์คำสอนเรื่อง “ไฟ”ในพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระครูอนุกูลวรกิจ (สุดใจ ปภสฺสโร)

บทคัดย่อ

         กาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องไฟในพระไตรปิฎก และเพื่อศึกษาคำสอนเรื่องไฟในพระไตรปิฎก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอเป็นรายงานการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา


         ผลการศึกษาแนวคิดเรื่องไฟในพระไตรปิฎก พบว่า ไฟในพระไตรปิฎกมี 2 ประเภท คือ 1) ไฟภายใน ได้แก่ เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ เป็นสภาวะธาตุที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้มีหน้าที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ทำให้ร่างกายกระวนกระวาย และทำอาหารให้ย่อย ธาตุไฟมีลักษณะร้อนและเย็น นอกจากนี้ ไฟยังใช้ในความหมายทำให้จิตใจเร่าร้อนเรียกว่า ไฟกิเลส คือ ไฟ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ 2) ไฟภายนอก ได้แก่ ไฟที่ให้แสงสว่าง ให้ความร้อน ความอบอุ่น และเผาผลาญ โดยมีชื่อตามวัสดุที่ทำให้เกิดไฟ ผลการศึกษาคำสอนเรื่องไฟในพระไตรปิฎก พบว่า มีคำสอนเกี่ยวกับไฟในหลาย ๆ กรณี ได้แก่ คำสอนเรื่องไฟเปรียบกับความชั่วที่จำต้องละเว้นและทำลายให้หมดสิ้น ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ คำสอนเรื่องไฟที่ควรบำรุง ได้แก่ มารดาบิดา สมณพราหมณ์ บุตร ภริยา ทาส และคนรับใช้ คำสอนเรื่องไฟที่ควรจุดควรดับ ควรระวังตามสมควร ได้แก่ ไฟที่จุดเพื่อหุงต้มและเพื่อการอื่น ๆ คำสอนเรื่องไฟใช้เป็นสื่อในการสอน ได้แก่ การยกอุทาหรณ์เกี่ยวกับไฟขึ้นมาประกอบการสอน ตลอดทั้งการซ่อนความหมายของไฟไว้ในคำสอนนั้น ๆ คำสอนเรื่องไฟในเชิงอุปมาอุปไมย ได้แก่ การยกไฟขึ้นมาเปรียบเทียบข้อความนั้น ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิติ วสุพรรุจิ. (2548). ศึกษาวิเคราะห์เรื่องดินที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พุทธวิธีการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.

พระพุทธโฆสะ. (2540). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 3. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสะ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภามหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2550). ปรมัตถโชติกะ ปริเฉจที่ 9 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2539). อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ฉบับแปลเป็นภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2540). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 3. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.