พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจเพื่อการรักษาศีล 5 ในยุค 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ตามวิถีทางพระพุทธศาสนาในยุค 4.0 ผลการวิเคราะห์พบว่า พุทธวิธีที่สร้างแรงจูงใจให้บุคคลหันมารักษาศีล 5 มากขึ้นนั้นมี 4 วิธี คือ วิธีสร้างแรงจูงใจด้วยการหวังผลประโยชน์ วิธีสร้างแรงจูงใจด้วยการไม่อยากเสียผลประโยชน์ วิธีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างความไม่แตกต่าง และวิธีสร้างแรงจูงใจด้วยการรีบเร่งปฏิบัติธรรมเพื่อมุ่งสู่การบรรลุธรรม สาเหตุที่พระพุทธองค์สร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล ก็เพราะมนุษย์นั้นมีอายุสั้น คราใดที่ฉุกคิดได้ด้วยสัมมาทิฏฐิว่า การปฏิบัติธรรมมีคุณค่ากับชีวิตมากเพียงใด ครานั้นมนุษย์ก็ควรน้อมนาเอาพระสัทธรรมมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติในทันที เพราะมนุษย์มีสภาวะทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน จึงทาให้แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมมีไม่เท่ากัน แต่แรงจูงใจในมุมมองของคณะผู้เขียนทั้ง 4 ข้อนี้ จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้บุคคลมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมรวดเร็วขึ้น และเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่จะเดินบนเส้นทางแห่งโลกุตตรธรรมได้มากขึ้น ฉะนั้น เมื่อจิตใจน้อมนาในการปฏิบัติธรรม เมื่อนั้นกรรมดีก็จะพอกพูนมากขึ้นเป็นลาดับ บุคคลก็จะเห็นผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ได้ในเวลาอันจากัด เช่น มีพฤติกรรมที่เรียบร้อย มีวาจาที่อ่อนโยน มีจิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นต้น ดังนั้น การสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธจึงเป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่งที่จะเปิดโอกาสให้บุคคลเข้ามารักษาศีล 5 ในยุค 4.0 เปรียบดังมีดวงประทีปนาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากวัฏสงสาร และรับประกันว่าสังคมจะสงบสุขในเวลาอันรวดเร็วได้อย่างแน่นอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2558). พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5. วารสารจิตวิทยา, 5(1), 1-15.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระมหาลักษณะ กิตฺติญาโณ และพระวิเชียร ปญฺญาพโล. (2553). ธรรมะภาคปฏิบัติ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดา). (2550). ศีล 5. นิตยสารธัมมวิโมกข์, 28(313), 46-54.
พระศรีสุทธิโมลี. (2524). รายงานการวิจัยเรื่อง พุทธธรรม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณวโรดม. (2551). แผนชีวิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). ศีลในพระพุทธศาสนา. เรียกใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2562 จาก https://is.gd/uu7d2n.
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี. (2528). ที่สุดของศีล สมาธิ ปัญญา. หนองคาย : วัดหินหมากเป้ง.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช. (2561). พระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์. ชลบุรี : วัดสวนสันติธรรม.