ธรรมาภิบาล: ปัญหาการทุจริตในระบบราชการไทย

Main Article Content

ธนเดช วงค์หาราช

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้หลักธรรมาภิบาลในการแก้ปัญหาการทุจริตในระบบราชการไทย โดยได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นคุณธรรมเพียง 6 ข้อ แต่ให้อรรถประโยชน์กับทุกฝ่ายอย่างมหาศาล และหากองค์กรใดปรารถนาจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็ควรบริหารองค์กรนั้นด้วยธรรมาภิบาลอย่างจริงจัง โดยอาจจะเริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน องค์การ ประชาคม และสังคม เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการองค์กรที่ดีให้คงอยู่ตลอดไป เมื่อมองในบริบทระบบราชการไทยในยุคโลกาภิวัตน์นี้ จะพบว่ามีปัญหาต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นกำแพงขวางกั้นการพัฒนาของประเทศ การจะบรรเทาปัญหานี้ได้นั้น จะใช้วิธีรุนแรงแข็งกร้าวเพียงอย่างเดียวยังไม่ได้ ควรใช้วิธีการแยบคายละมุนละม่อมควบคู่กันไปด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้มีอยู่ในคุณธรรมที่ชื่อ “ธรรมาภิบาล” เรียบร้อยแล้ว แม้สังคมไทยจะเริ่มมีการควบคุมตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบราชการมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานนั้น ๆ ได้อย่างเสรี ก็เป็นความกล้าหาญอย่างหนึ่งที่จะนำพาสังคมไทยได้ซึมซับหลักธรรมาภิบาลอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อกลุ่มคน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยกันตรวจสอบการทำงานของภาครัฐอย่างเป็นระบบ หลักการมีส่วนร่วมก็จะได้รับการสถาปนาขึ้นมาเป็นผู้ทำลายความชั่วร้ายในวงราชการให้หมดสิ้นไป อันจะนำไปสู่การทำงานที่สุจริตมากขึ้นในวงการราชการไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ ทินพันธุ์ นาคะตะ และฤาเดช เกิดวิชัย. (2557). การทุจริตในวงการราชการไทย:การสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาจากผู้นำและบุคคลสำคัญของประเทศไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ, 18(53), 61-74.

จรัส สุวรรณเวลา. (2546). จุดบอดบนทางสู่ธรรมาภิบาล: บทบาทของบอร์ดองค์การมหาชน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

ประเวศ วะสี. (2546). ธรรมาภิบาลกับคอร์รัปชั่นในสังคมไทย : ระเบียบวาระแห่งชาติปฏิรูปสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: มปท.

วิทยากร เชียงกูล. (2549). แนวทางปราบคอร์รัปชันได้ผล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สายธาร.

สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. (2559). หลักนิติธรรมกับสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(2), 118-125.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2547). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี : แนวคิดและประสบการณ์ ในภาคราชการไทย. การประชุมทางวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2547) การเมืองการบริหารของไทยในยุคโลกาภิวัตน์. ระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2547.

ACT องค์การต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย. (2562). วงจรคอร์รัปชัน. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก http: //www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/135/5/วงจรคอร์รัปชัน.