การศึกษาภาพลักษณ์ของชูชกและนางอมิตตตาในเวสสันดรชาดก: กัณฑ์ชูชก

Main Article Content

บุญส่ง สินธุ์นอก

บทคัดย่อ

         บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของชูชกและนางอมิตตตาในเวสสันดรชาดก กัณฑ์ชูชก โดยศึกษาข้อมูลจากมหาเวสสันดรชาดกฉบับกรมศิลปากร แล้วเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก เวสสันดรชาดกฉบับกรมศิลปากรได้บรรยายภาพลักษณ์ภายนอกของชูชกไว้ว่า เป็นคนแก่ หน้าตาอัปลักษณ์ ปากเหม็น ฟันเหยิน เนื้อตัวเหี่ยวย่น เป็นโรคผิวหนัง มีไฝเต็มตัว เท้าบิด ขากาง หลังค่อม พุงโร หูตาบิดเบี้ยว เป็นต้น เพื่อเสริมเนื้อความในพระไตรปิฎกว่าชูชกมีความบกพร่องทางร่างกาย 18 อย่าง ส่วนภาพลักษณ์ภายใน ได้แก่ ด้านนิสัยใจคอและพฤติกรรมของชูชก เป็นคนเจ้าเล่ห์ มีนิสัยดุร้าย มีความละโมบโลภมาก ด้านภาพลักษณ์ภายนอกของนางอมิตตตานั้นเป็นหญิงสาวแรกรุ่น รูปร่างดี และงดงาม ส่วนภาพลักษณ์ภายใน เป็นคนหัวอ่อน เชื่อฟังพ่อแม่ เป็นภรรยาที่ดี แต่ข้อบกพร่องของนางอมิตตตา คือ เป็นคนเห็นแก่ได้ ยอมแต่งงานเพราะหวังทรัพย์สมบัติของชูชก แม้ว่าเวสสันดรชาดกจะกล่าวถึงภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของชูชกไว้หลายประการ แต่หากมองถึงพฤติกรรมเชิงบวก ชูชกก็มีส่วนดีอยู่หลายประการ เช่น ความรับผิดชอบต่อครอบครัว รับผิดชอบต่อหน้าที่ ประหยัด มัธยัสถ์ พากเพียร อดทน และเฉลียวฉลาด เมื่อศึกษาเปรียบเทียบเวสสันดรชาดกฉบับกรมศิลปากรกับสานวนบาลี ทาให้ทราบว่า ผู้แต่งได้เพิ่มเติมบุคลิกภาพตัวละครให้มีพฤติกรรมที่น่าสนใจ ทางด้านจริยธรรมที่ได้จากการศึกษาพฤติกรรมของพราหมณ์ชูชกมีหลายประการ เช่น ความอุตสาหะพยาม ความประหยัด ความมีไหวพริบ การรู้จักเอาตัวรอด รู้จักผ่อนปรน เป็นต้น ภาพลักษณ์เหล่านี้จึงพอจะเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อให้คนในสังคมปฏิบัติตามได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2507). เทศน์มหาชาติ กัณฑ์ชูชก ต่างสานวน. พิมพ์ในการรับเพลิงพระราชทานเผาศพนางน้อย บุญศรี ณ เมรุวัดหัวลาโพง พระนคร. ธนบุรี : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์.

กรมศึกษาธิการ. (2531). มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 13 กัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 12. พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา.

ประครอง นิมมานเหมินท์. (2526). มหาชาติลานนา : ศึกษาในฐานะวรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฎก . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2552). ศึกษาวิเคราะห์อรรถปริวรรตศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โสวิทย์ บารุงภักดิ์. (2547). การตีความคัมภีร์อภิธัมมตาร. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.