ศึกษารูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ลาว

Main Article Content

พระมหาวิรวัด วิจกฺขโณ (วิไลจักร์)

บทคัดย่อ

         บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปกครองของคณะสงฆ์ลาว ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการปกครองของคณะสงฆ์ลาว ได้รับแนวคิดทฤษฎีในการปกครองจาก 2 แนวคิด คือ รูปแบบการปกครองทางตะวันตก เช่น ยุคกรีก ยุคโรมัน ยุคกลาง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เป็นต้น และรูปแบบการปกครองทางตะวันออก เช่น ยุคจีน และอินเดีย เป็นต้น ซึ่งรูปแบบการปกครองทั้ง 2 รูปแบบ ได้ส่งผลต่อหลักการปกครองของคณะสงฆ์ลาว และเป็นรูปแบบเดียวกันกับการปกครองของรัฐบาลลาวตามระบอบประชาธิปไตยประชาชนลาวเช่นกัน องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาวได้รวมเอาคณะสงฆ์ 2 นิกาย คือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย เข้าเป็นนิกายเดียวกัน เพื่อให้การปกครองของคณะสงฆ์ลาวมีความสามัคคีเป็นหลัก ดังปรากฏในพระธรรมวินัยและในธรรมนูญปกครองสงฆ์ลาว พ.ศ. 2541 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2547 ทั้งนี้ ก็มุ่งฝึกคนลาวให้มีความประพฤติที่ดี ปลูกฝังอุดมการณ์ให้มีความตั้งใจแน่วแน่มั่นคงในทางที่ดี สร้างความเฉลียวฉลาดในการวินิจฉัยว่า สิ่งใดดีหรือไม่ดี หากทาได้ดังนี้ ก็จะเป็นระบบหรือรูปแบบในการสร้างคนดี ช่วยให้คนลาวเข้ามาสู่วงจรการปกครองที่ใช้ธรรมเป็นใหญ่มากขึ้น ดังนั้น รูปแบบการปกครองในพระพุทธศาสนากับรูปแบบการปกครองของพรรคและรัฐ จึงต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมให้สังคมลาวมีความสุขที่ยั่งยืนยาวนานตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไกรสอน พรหมวิหาร. (2520). แนวคิดของประธานไกรสอน พรหมวิหาร ในการสร้างและขยายระบอบประชาธิปไตยประชาชนตามสังคมนิยม. นครหลวงเวียงจันทน์ : ห้องการค้นคว้าทฤษฏีและพฤติกรรม คณะโฆษณาอบรมศูนย์กลางพรรค.

คณะกรรมการวิทยาศาสตร์สังคมแห่ง สปป.ลาว. (2534). เจ้าสุภานุวงศ์ ผู้นาปฏิวัติ. สปป.ลาว : คณะกรรมการวิทยาศาสตร์สังคมแห่ง สปป.ลาว.

คณะโฆษณาอบรมศูนย์กลางพรรค. (2558). 60 ปี พรรคประชาชนปฏิวัติลาว. นครหลวงเวียงจันทน์ : ม.ป.ท.

คณะโฆษณาอบรมศูนย์กลางพรรคและศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ. (2552). เอกสารฝึกอบรมสาหรับพระสงฆ์และสามเณร. นครหลวงเวียงจันทน์ : กรมอบรม.

เชิดเกียรติ อัตถากร. (2540). ขบวนการคอมมิวนิสต์เวียดนาม. กรุงเทพมหานคร : สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกอ).

พระมหาคาตัน เทบบัวลี. (2545). พุทธศาสนากับสังคม. นครหลวงเวียงจันทน์ : โรงพิมพ์แห่งชาติ.

พระมหาบัวคา สาริบุตร. (2538). หลักสูตรวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ. นครหลวงเวียงจันทน์ : สานักวัดขวาหลวง (เอกสารเย็บเล่ม).

พระมหาบุญทวี วิไลจักร. (2546). หน้าที่เจ้าอธิการวัด. นครหลวงเวียงจันทน์ : องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว.

พระมหาวิจิตร สิงหราช. (2543). ประวัติความเป็นมาขององค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว. นครหลวงเวียงจันทน์ : ห้องการ อพส. จัดพิมพ์.

ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2528). มูลมรดกชาติลาว. กรุงเทพมหานคร : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระยอดแก้วพุทธชิโนรสกลมหาสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2549). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทบพิธการพิมพ์.

วีระ ถาจ. (2555). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีธาตุ สิงห์ประทุม และคณะ. (2553). การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและพุทธศาสนาสมัยสังคมนิยมในลาว. วารสารสังคมลุ่มน้าโขง. 6(3),73-96.

หอมหวน บัวระภา. (2555). พระพุทธศาสนาลาวภายใต้อุดมการณ์สังคมนิยม 2518-2533. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 29(1), 186-216.

อุดม ขัตติยะ. (2540). คาปราศัยต่อกองประชุมใหญ่. นครหลวงเวียงจันทน์ : ม.ป.ท.