การพัฒนาชุมชนจอมมณีตามหลักอิทธิบาท 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมที่นาไปสู่ความสาเร็จอย่างแท้จริง เพราะเป็นหลักธรรมที่มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนและสามารถเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน อิทธิบาท 4 นั้นประกอบด้วย 1. ฉันทะ ความพอใจหรือความศรัทธาต่อสิ่งนั้น 2. วิริยะ ความเพียรหรือความอดทนอดกลั้นต่ออุปสรรคนั้น ๆ 3. จิตตะ จิตจดจ่อต่อสิ่งนั้นหรือความรับผิดชอบในสิ่งนั้น 4. วิมังสา การไตร่ตรองหรือการทบทวนต่อสิ่งที่ตนเองทาขึ้นมา คุณูปการของหลักธรรมนี้จะช่วยพัฒนาตนเองไปสู่ความก้าวหน้าได้และยังประโยชน์แก่ชุมชนให้เข้มแข็งได้ด้วย โดยมีชุมชนจอมมณีเป็นกรณีตัวอย่าง การที่ชุมชนจอมมณีประสบความสาเร็จทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมได้ ก็เพราะบริหารชุมชนตามหลักอิทธิบาท 4 อย่างลงตัว ยิ่งไปกว่านั้น หลักอิทธิบาท 4 ยังสามารถสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ช่วยพัฒนาคนในชุมชนให้มีศักยภาพ และจัดสรรทรัพยากรในชุมชนอย่างคุ้มค่าร่วมกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้รู้จักตัวเอง รู้จักชุมชนมากขึ้น อันแสดงว่าหลักธรรมนี้ได้สร้างความศรัทธาในชุมชนมากขึ้นด้วย ฉะนั้น ชุมชนอื่นใดที่สามารถประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ให้สอดคล้องกับบริบทในชุมชน ชุมชนนั้นก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ของชุมชนได้ ดังนั้น ในการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ชุมชนจอมมณีเป็นเพียงชุมชนตัวอย่างที่ประสบความสาเร็จในการนาเอาหลักอิทธิบาท 4 มาปรับใช้ และให้ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติเป็นอย่างดี แต่หากทุกชุมชนทั่วไปจะนาไปประยุกต์ใช้บ้าง ก็จะยิ่งทาให้ชุมชนเหล่านั้นพัฒนาทั้งกายภาพและจิตวิญญาณเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยรวมสืบไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2562). หลักการพัฒนาชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2562 จาก http://www.epub.rbru.ac.th/pdf-uploads/thesis-158-file07-2016-10-19-12-45-00.pdf.
ชยาภรณ์ ชื่นรุ่งโรจน์. (2537). ชุมชนและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
พระนิพ์พิชน์ โสภโณ (อนันตกิจโสภณ) พระสุธีธรรมานุวัตร และสมิทธิพล เนตรนิมิตร. (2560). การพัฒนาชุมชนตามแนววิถีพุทธของหมู่บ้านในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 489-504.
มนตรี วิวาห์สุข. (2560). ความสาเร็จตามหลักอิทธิบาท. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(49), 13-35.
รุ่งทิพย์ กล้าหาญ และคณะ. (2561). การพัฒนาตนเองตามหลักพุทธธรรมโดยอาศัยหลักสามัคคีธรรม. เรียกใช้เมื่อ 12 สิงหาคม 2562 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/330.
สิริยา รัตนช่วย. (2560). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้พลวัตของโลกยุคใหม่. วารสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(1), 72-87.
สุรพล เศรษฐบุตร. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา 352721 (การส่งเสริมการเกษตรกับการพัฒนาชนบท). เชียงใหม่ : ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อภิสิทธิ์ หนุนภักดี. (2558). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักอิทธิบาท 4 กรณีศึกษา สานักราชเลขาธิการ”. ใน รายงานการศึกษาส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.