โลกทีปนีกับการพัฒนาชีวิตที่ดีกว่า

Main Article Content

พระมหาสมพงษ์ สุจิตฺโต (กะมุตะเสน)

บทคัดย่อ

         บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คติธรรมแนวพุทธในคัมภีร์โลกทีปนีว่า การศึกษาพบว่า โลกทีปนีเป็นผลงานวรรณกรรมพุทธศาสนาของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙) เนื้อหากล่าวถึงภพภูมิต่าง ๆ ทั้งแสดงถึงเหตุปัจจัยแห่งการเข้าถึงภพภูมิเหล่านั้น โลกทีปนีได้กล่าวถึงภพภูมิทั้ง 3 ภูมิ คือ นรกโลก มนุษย์โลก และเทวโลกไว้ว่า โลกนรกมีมหานรก 8 ขุม และมีนรกบริวารรอบล้อมทั้ง 4 ทิศ รวมทั้งหมด 128 ขุม มนุษย์โลกเป็นภพภูมิของผู้ที่กระทากุศลกรรมไว้มาก คือ มีเมตตา ให้ทาน รักษาศีล เพ็ญเพียรภาวนามาก่อน จึงได้มาเกิดในมนุษย์โลก เทวโลก มี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี ผู้ที่เกิดในเทวโลก เป็นผู้ที่มีเทวธรรมภายในใจ คือ ละอายชั่วกลัวบาป มีหิริโอตัปปะ และบาเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ เช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา การวิเคราะห์โลกทีปนีกับการพัฒนาชีวิต พบว่า การพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธศาสนามีการพัฒนา 4 ด้าน คือ การพัฒนากาย การพัฒนาศีล การพัฒนาจิต การพัฒนาปัญญา โดยความรู้ในโลกทีปนีสามารถนามาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ ด้วยกระบวนการของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คุณูปการของคัมภีร์โลกทีปนีช่วยให้มนุษย์มีความยาเกรงต่อการทาบาป มุ่งมั่นต่อการทาดี เพราะมนุษย์ไม่ปรารถนาที่จะตกนรกหรือทุกข์ทรมานหลังความตาย ดังนั้น คัมภีร์โลกทีปนีนี้จึงเป็นพุทธคติที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต แล้วคุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นกว่าเดิมในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระครูสังฆ์รักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารจัดกรศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดแพร่. วารสารวิทยาลัยสงฆ์ลาปาง, 7(1), 41-50.

พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร). (2537). วรรณกรรมไทยเรื่องภูมิวิลาสินี. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จากัด.

พระราชวิสุทธิโสภณ (วิลาศ ณาณวโร). (2524). ภูมิวิลาสินี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มิตรสยาม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัดพระธรรมกาย. (2555). กฎแห่งกรรม กรรมลิขิต : กรณีศึกษาตัวอย่างของกฎแห่งกรรม ตายแล้วไปไหน. เรียกใช้เมื่อ 27 เมษายน 2561 จาก https://shorturl.asia/dPwLQ

Fink, Charles K. (2013). Better to Be a Renunciant Buddhism, Happiness, and the Good Life. Journal of Philosophy of Life, 3(2), 127-144.