ศึกษาเปรียบเทียบพิธีเถราภิเษกของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหอคำ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ กับพิธีเถราภิเษกของชุมชนบ้านน้ำโล้ แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว

Main Article Content

พระครูสุธรรมรัตนาภรณ์ (สุพจน์ ฐานธมฺโม)

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของพิธีเถราภิเษกในอาณาจักรล้านช้าง
และเปรียบเทียบพิธีเถราภิเษกของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหอคำ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ กับ
พิธีเถราภิเษกของชุมชนบ้านน้ำโล้ แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย
ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เอกสารงานวิจัย และหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมลง
พื้นที่สัมภาษณ์พระมหาเถระผู้ใหญ่และปราชญ์ชาวบ้านในแหล่งข้อมูลทั้งสองแห่ง


ผลการวิจัยพบว่า พิธีเถราภิเษกของล้านช้างได้รับอิทธิพลจากล้านนา เพราะล้านนากับล้านช้าง
มีความเชื่อมโยงกันทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีกษัตริย์สืบเชื้อสายร่วมกัน ล้านช้างเรียกพิธีเถราภิเษ
กว่า ฮดสรง คือพิธีถวายสมณศักดิ์ให้แก่พระสงฆ์ที่ชาวบ้านเห็นว่ามีความประพฤติดีปฏิบัติชอบผ่านพิธี
รดน้ำตามคติความเชื่อของล้านช้าง พิธีฮดสรงมีมาในภาคอีสานตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานปรากฏ
อยู่ในหลาย ๆ จังหวัดของภาคอีสาน เทศบาลตำบลหอคำ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ และบ้านน้ำโล้
แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งแม่น้ำโขง ทั้งสองชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด มี
การนั่งเรือไปมาหาสู่กันเป็นประจำ มีประเพณีและวัฒนธรรมที่เหมือนกัน แม้พิธีฮดสรงของทั้งสองชุมชนก็มีความคล้ายคลึงกัน แต่ปัจจุบันเมื่อบริบททางสังคมและการปกครองของทั้งสองประเทศแตกต่างกัน
จึงทำให้พิธีฮดสรงของทั้งสองชุมชนมีความเหมือนและความแตกต่างกันหลายประการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์. (2534). อีสานเมื่อวันวาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

เทศบาลตำบลหอคำ. (2561). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลหอคำ. เรียกใช้เมื่อ 5

สิงหาคม 2562 จาก http://www.hokhum.go.th/data2.php?content_id=2.

ธีระพงษ์ มีไธสง. (2556). ฮดสรง : การอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาพิธีเถราภิเษกพระสงฆ์

ในภาคอีสาน. ใน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

พระครูเมตตากิตติวิมล (อภัย อภโย). (2555). การวิเคราะห์ความเชื่อในประเพณีฮดสรงของชาวตำบล

ป่าสังข์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร :

สำนักพิมพ์นามีบุ๊คส์พับพลิเคชั่นส์ จำกัด.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563). แขวงบอลิคำ ไซ. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2563 จาก

https://is.gd/1cc6Zb