ศึกษาพัฒนาการของตำนานอุรังคธาตุนิทาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำเนิด เนื้อหา และพัฒนาการของตำนานอุรังคธาตุการศึกษาพบว่า ตำนานอุรังธาตุนิทานเป็นวรรณกรรมบอกเล่าเรื่องราวของบุคคลและสถานที่ โดยมีแกนหลักของเรื่องคือการเสด็จมาบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้าในดินแดนล้านช้างและภาคอีสานของไทยบางส่วน พร้อมกับบอกเล่าเรื่องราวของผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการพรรณนาถึงการกลับชาติมาเกิดของผู้มีบุญญาธิการ เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในเรื่องมีความศักดิ์สิทธิ์ ตำนานอุรังคธาตุนิทานมีลักษณะเป็นนิทานปรัมปรา โดยกล่าวถึงเรื่องเล่าที่น่าจะเกิดจากอิทธิพลของพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ที่กำลังรุ่งเรืองในอาณาจักรล้านนา แล้วขยายตัวเข้ามาสู่ล้านช้าง และมีเนื้อหากล่าวถึงกำเนิดพุทธศาสนาสถาน ชื่อบ้านนามเมือง และสถานที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางที่เสด็จ เช่น หนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) พระพุทธบาทโพนฉัน (โพนพิสัย) พระบาทเวินปลา เมืองโคตบอง (ท่าอุเทน) กปณคิรี (ภูกำพร้า) พระธาตุอิงฮัง (แขวงสุวรรณเขต) เมืองศรีโคตรบูร (แขวงสะหวันเขต) เมืองมรุกขนคร (นครพนม) เมืองหนองหานหลวง (สกลนคร) ดอยแท่น (ภูเพ็ก) ภูกูเวียน (ภูพระบาท) ดอยนันทกังฮี (หลวงพระบาง) และชื่อบุคคลผู้เป็นเจ้าผู้ปกครองต่าง ๆ เช่น พระยาศรีโคตรบูร เมืองศรีโคตบูร พระยาสุมิตตธรรมวงศา เมืองมรุกขนคร พระยาสุวรรณภิงคาร เมืองหนองหานหลวง เป็นต้น ตำนานอุรังคธาตุนิทานมีลักษณะวิวัฒนาการในสองด้านคือ ด้านเนื้อหาและด้านสถานที่ จึงเกิดมีสถานที่ต่าง ๆ ตามเนื้อหาอุรังคธาตุนิทานกล่าวถึง และมีอิทธิพลต่อความเชื่อของชาวพุทธว่าเป็นเรื่องจริง เพราะมีสถานที่เป็นหลักฐานยืนยันชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
กรมศิลปากร. (2537). อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์.
ธวัช ปุณโณฑก. (2542). ตำนานอุรังคธาตุ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน ธนาคารไทยพาณิชย์.
พจนีย์ เพ็งเปลี่ยน. (2553). นิทานอุรังคธาตุ ฉบับหลวงพระบาง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทหารผ่านศึก.
พระเทพรัตนโมลี. (2537). ประวัติย่อพระธาตุพนม. พิมพ์ครั้งที่ 12. นครพนม : วัดพระธาตุพนม.
พระพนมเจติยานุรักษ์. (2496). อุรังคนิทาน (ตำนานพระธาตุพนม พิสดาร). พิมพ์ครั้งที่ 4. พระนคร: พ.พิทยาคาร.
พระมหาสม สุนโน. (2522). ประมวลเหตุการณ์พระธาตุพนมหักพังและการสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ์.
สุรชัย ชินบุตร. (2559). อุรังคธาตุนิทานพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับอีสานล้านช้าง : การสืบทอดและการสร้างสรรค์. วารสารไทยศึกษา, 12(1), 1-34.
สุรชัย ชินบุตรและคณะ. (2559). อัตลักษณ์และการสืบทอดอำนาจของข้าโอกาสวัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม. ใน พิธีถวายข้าวพีชภาคและพิธีเสียค่าหัว. นครพนม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อุดร จันทวัน. (2547). ศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมทาง พระพุทธศาสนาเรื่องอุรังคธาตุนิทาน : ภาษาทางศาสนา และอิทธิพลต่อสังคม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาราชวิทยาลัย.
Charoen supakul, Anuwit. (1998). Phra Thatpanom (In Thai) (Phra Thatpanom). 2nd ed. Bangkok : Kurusapa Press.