การจัดระเบียบสังคมตามแนวมังคลัตถทีปนี

Main Article Content

พระสมุห์จักรพันธ์ ธีรธมฺโม (วรรณมา)

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์การจัดระเบียบสังคมตามแนวมังคลัตถทีปนี ผลการศึกษาพบว่า มังคลัตถทีปนี เป็นผลงานการนิพนธ์ของพระสิริมังคลาจารย์ พระเถราจารย์ชาวเชียงใหม่ เนื้อหาของมังคลัตถทีปนี กล่าวถึงหลักธรรมสำหรับการดำเนินชีวิต 38 ประการ ซึ่งผู้แต่งได้นำเนื้อความจากมงคลสูตร ในสุตตนิบาต ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎกเล่มที่ 25 มาอธิบายเพิ่มเติม หัวข้อธรรมในมังคลัตถทีปนีจำแนกออกเป็น 10 หมวด สามารถจำแนกเป็นกระบวนการจัดระเบียบสังคมได้ 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 การจัดระเบียบสังคมในระดับศีล คือ การขัดเกลาตนเองและคำนึงถึงผู้อื่นหรือสังคม ประกอบด้วยหมวดที่ 1 การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต การบูชาคนที่ควรบูชา หมวดที่ 2 การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม การมีบุญวาสนามาก่อน การตั้งตนไว้ชอบ หมวดที่ 3 ความเป็นพหูสูต ความมีศิลปะ ความมีวินัย ความมีวาจาสุภาษิต หมวดที่ 4 การบำรุงมารดาบิดา การเลี้ยงดูบุตร การสงเคราะห์ภรรยา(สามี) การทำงานไม่คั่งค้าง หมวดที่ 5 บำเพ็ญทาน ประพฤติธรรม สงเคราะห์ญาติ ทำงานไม่มีโทษ หมวดที่ 6 งดเว้นจากบาป สำรวมจากการดื่มน้ำเมา ไม่ประมาทในธรรม ระดับที่ 2 การสร้างจิตสำนึกระดับสมาธิ ประกอบด้วย หมวดที่ 7 มีความเคารพ มีความถ่อมตน มีความสันโดษ มีความกตัญญู ฟังธรรมตามกาล หมวดที่ 8 มีความอดทน เป็นผู้ว่าง่าย เห็นสมณะ สนทนาธรรมตามกาล ระดับที่ 3 การสร้างจิตสำนึกระดับสร้างองค์ความรู้หรือการพัฒนาปัญญา ประกอบด้วยหมวดที่ 9 บำเพ็ญตบะ ประพฤติพรหมจรรย์ เห็นอริยสัจ ทำพระนิพพานให้แจ้ง หมวดที่ 10 จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม จิตไม่โศก จิตปราศจากธุลี จิตเกษม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระมหาภัฏชวัชร์ เขมทสฺสี พระมหาอำนาจ พลปญฺโญ และสิรภพ สวนดง. (2559). “มังคลัตถทีปนี : ศาสตร์แห่งการดำเนินชีวิต”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(2), 373-382.

พิสิษฐ์ เหล่าศิริรัตน์. (2558). หลักสิทธิมนุษยชนกับภาคเอกชน. บทความทางวิชาการเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน, วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

พระมหาภัฏชวัชร์ เขมทสฺสี พระมหาอำนาจ พลปญฺโญ และสิรภพ สวนดง. (2559). “มังคลัตถทีปนี : ศาสตร์แห่งการดำเนินชีวิต”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(2), 373-382.

พิสิษฐ์ เหล่าศิริรัตน์. (2558). หลักสิทธิมนุษยชนกับภาคเอกชน. บทความทางวิชาการเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน, วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2540). มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 1-5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. (2542). ชีวิตและผลงานพระสิริมังคลาจารย์. เชียงใหม่ : ดาวคอมพิวกราฟิก.

สมพนธ์ บุณยคุปต์. (2548). พุทธศาสนา : สัจธรรมของชีวิตที่ปัญญาชนควรรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพยาบาลวิชัยยุทธ.