การบูรณาการอิทธิบาท 4 เพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนออนไลน์

Main Article Content

พระมหาสุรเพชร วชิรญาโณ

บทคัดย่อ

         ปัจจุบันการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์ ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนผ่านโปรแกรม google classroom และโปรแกรม Zoom ทาให้การเรียนการสอนมีความสะดวกสบายและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวสอดรับกับการเรียนการสอนในยุค New Normal หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID19 นับว่าเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อวงการทางการศึกษา แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า ความสะดวกสบายใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีไปทุกอย่าง เพราะธรรมชาติของมนุษย์ทั่วไป ความสะดวกสบายอาจจะทาให้เกิดความ “เกียจคร้าน” หรือความ “เบื่อหน่าย” ขึ้นได้ ซึ่งก็ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่า บุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรในการใช้สื่อออนไลน์นี้ในการเรียนของตน ก็ย่อมจะประสบผลสาเร็จได้โดยง่าย แต่ถ้าเกิดความเกียจคร้านขึ้นมาก็อาจจะทาให้เกิดความผิดพลาด หรืออาจจะไม่ประสบผลสาเร็จในการเรียนก็ได้ ดังนั้น การที่จะมั่นใจได้ว่า ผู้เรียนจาเป็นต้องนาหลักอิทธิบาทบาท 4 คือ ฉันทะ ความพอใจในการเรียนออนไลน์ วิริยะ มีความพากเพียรไม่ย่อหย่อนในการเข้าใช้โปรแกรมนี้อย่างสม่าเสมอ จิตตะ การเอาใจใส่ติดตามผลการเรียนตลอดเวลา และ วิมังสา การพิจารณาอย่างรอบคอบในวิธีการเรียนของตน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกรียงศักดิ์ ราชโคตร์. (2545). อิทธิบาท 4 และลักษณะทางจิตที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาในโรงเรียนเอกชนประเภทช่างอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

ชาญยุทธ โกลิตะวงศ์ และคณะ. (2561). ความต้องการแรงงานในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28(3), 668-712.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2551). ความหมายของ e-Learning. เรียกใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2563 จาก https://www.kroobannok.com/1586.

ธาดา รัชกิจ. (2560). การศึกษา (Education) สาคัญอย่างไรกับการพัฒนามนุษย์. เรียกใช้เมื่อ 28 ตุลาคม 2563 จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190625-education-for-hrd/.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 40. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2540). ขอบฟ้าแห่งความรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทยา เรืองพรพิสุทธ์. (2538). คู่มือการเข้าสู่อินเตอร์เน็ตสาหรับผู้เริ่มต้น. กรุงเทพมหานคร : ยูเอ็ดยูเคชั่น.

ศาสตราจารย์.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2560). สามัญทัศน์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม. (2560). 5 G คืออะไร. เรียกใช้เมื่อ 28 ตุลาคม 2563 จาก https://www.ops.go.th/main/index.php/

สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์. (2547). ความหมายของคาว่า e-Learning. เรียกใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2563 จาก http://www.thai2learn.com/

หนุ่ย พงษ์สุข. (2563). รู้จัก Zoom บริการประชุมออนไลน์ยอดฮิตในยุค Work from Home. เรียกใช้เมื่อ 28 ตุลาคม 2563 จาก https://www.youtube.com/watch?v=TBmfHp5DdKs

Computer Time. (2538). Make it with Creative Cloud. เรียกใช้เมื่อ 28 ตุลาคม 2563 จาก https://encyclopedia2.thefreedictionary.com/Computer+Time

DUANGLETHAI. (2553). มัลติมีเดีย (Multimedia) คืออะไร. เรียกใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2563 จาก http://duanglethai2532.blogspot.com/.