การส่งเสริมโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ตามแนวสิกขาบท

Main Article Content

พศุตม์ ขอดเมชัย

บทคัดย่อ

        บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโภชนาการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ตามแนวสิกขาบท ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพกาย ในฐานะสุขภาพกายมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิต และการประพฤติพรหมจรรย์ การส่งเสริมโภชนาการนั้น มีจุดประสงค์เพียงเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีอาพาธน้อย เกื้อกูลแก่การประพฤติพรหมจรรย์ โภชนบัญญัติตามแนวสิกขาบทนั้น มีความสอดคล้องกับการส่งเสริมโภชนาการตามหลักอาหาร 5 หมู่ คือ ทรงอนุญาตให้ฉันเนื้อและปลาได้ ทรงอนุญาตให้ฉันธัญพืชประเภทข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก และมันได้ อนุญาตให้ฉันพืชผักต่าง ๆ ได้ทุกชนิด ทรงอนุญาตให้ฉันผลไม้และน้ำปานะที่ทำจากผลไม้ได้ และทรงอนุญาตให้ฉันไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ได้ ซึ่งอาหารทั้งหมดนี้ จัดเข้าในอาหารหลัก 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ นอกจากนี้ยังมีโภชนปฏิบัติผ่านพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการแสวงหา การฉัน และเวลาที่ทรงอนุญาตไว้ในเสขิยวัตร ซึ่งสอดคล้องกับหลักการส่งเสริมสุขภาพ ในด้านน้ำดื่มน้ำใช้ มีพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการดูแลความสะอาดของแหล่งน้ำ และการกรองน้ำสะอาดก่อนดื่ม ส่วนการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์เชิงสังคมในปัจจุบัน ทายกทายิกาควรเป็นต้นทางในการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ ด้วยการถวายอาหารที่เกื้อกูลต่อสุขภาพพระสงฆ์ ในด้านพระสงฆ์ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และบุหรี่ เป็นต้น อันเป็นปัจจัยเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ แม้พระสงฆ์จะไม่สามารถเจาะจงให้ญาติโยมถวายอาหารได้ แต่สามารถเลือกฉันอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุภาพได้ โดยใช้หลักอภิณหปัจจเวกขณะและหลักโภชเนมัตตัญญุตา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กลุ่มวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ปลา- อาหารคู่ชีวิต. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2563 จาก https://zhort.link/zS9.

กองบรรณาธิการ HD. (2562). มะม่วง ข้อมูล สรรพคุณ ประโยชน์ และวิธีการบริโภคเพื่อสุขภาพ. เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2563 จาก https://hd.co.th/benefits-of-mango.

คมชัดลึก ออนไลน์. (2564). ประโยชน์และสรรพคุณที่น่ารู้ สำหรับ "บัว". เรียกใช้เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/480568.

จงจิต เสน่หา. (2551). พระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนากับพฤติกรรมสุขภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 26(1), 4-13.

จารุวิทย์ บุญวงค์. (2558). 13 สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังดื่มน้ำน้อยเกินไป. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก https://zhort.link/zUZ.

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบาลราชธานี. (2560). ลูกจันทน์. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก https://zhort.link/yh2.

ฐานข้อมูลท้องถิ่น กำแพงเพชร-ตาก. (2563). มะปราง. เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2563 จาก https://zhort.link/zSV.

ทรูปลูกปัญญา. (2560). ความหมายของโภชนาการ. เรียกใช้เมื่อ 30 กันยายน 2563 จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/59901/-heabod-hea-.

ทีวีพูล. (2561). กล้วย. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก https://zhort.link/zSU.

ไทยรัฐออนไลน์. (2555). ห่วงพระสงฆ์ 45% เป็นโรคอ้วน เหตุฉันอาหารไม่ถูกหลัก. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.thairath.co.th/content/279947.

ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิต. (2533). ภาพชีวิตของพระสงฆ์ในอริยวินัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท นีโอ ดิจิตอล จำกัด.

ผู้จัดการออนไลน์. (2547). สูตรเด็ดแสนอร่อยของน้ำผัก-ผลไม้. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2563 จาก https://mgronline.com/qol/detail/9470000060017.

ผู้จัดการออนไลน์. (2551). พระสงฆ์สุขภาพย่ำแย่ กินยาแก้ปวดครั้งละ 6 เม็ด ดื่มกาแฟ 8 แก้ว/วัน. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก https://zhort.link/zUV.

ผู้จัดการออนไลน์. (2556). ครึ่งปีมีพระสงฆ์ป่วย 7.1 หมื่นรูป เหตุญาติโยมถวายอาหารทำลายสุขภาพ. เรียกใช้เมื่อ 17 พฤษภาคม 2563 จาก http://www.manager.co.th.

ผู้จัดการออนไลน์. (2557). วัด ผ่านเกณฑ์ส่งเสริมสุขภาพแล้วกว่า 2.9 พันแห่ง. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2563 จาก https://mgronline.com/qol/detail/9570000048204.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). สาระแห่งสุขภาพและความสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส.อาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

พินิจ ลาภธนานนท์. (2556). ประเด็นสุขภาวะในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พินิจ ลาภธนานนท์. (2556). สุขภาวะของพระสงฆ์ ปี 2555. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย. (2554). โภชนาการกับผัก. กรุงเทพมหานคร : สารคดี.

ลานธรรมเสวนา. (2551). มะซาง. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2563 จาก https://shorturl.asia/SpJwf

สำนักข่าวไทยแลนด์พลัส ออนไลน์. (2561). รู้เรื่อง…องุ่น. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.thailandplus.tv/archives/1234

อวย เกตุสิงห์. (2534). เวชศาสตร์ประยุกต์ในพระวินัย. สมาธิ, 6 (57), 70-79.

อัจฉรา ดลวิทยาคุณ. (2550). พื้นฐานโภชนาการ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.