ศึกษาความต้องการการพัฒนาสมรรถนะการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระมหาอำพล ธนปญฺโญ (ชัยสารี)

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาสมรรถนะการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดหนองคาย จำนวน 210 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติขั้นพื้นฐาน โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะการสอนของพระสอนศีลธรรม จังหวัดหนองคาย โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (  = 4.02) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดำเนินการสอน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.09) รองลงมา คือ ด้านเนื้อหาและหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย (  = 4.02) รองลงมา คือ ด้านการผลิตและการใช้สื่อ มีค่าเฉลี่ย (  = 4.00) และด้านการวัดผลประเมินผล มีค่าเฉลี่ย (  = 3.98) ตามลำดับ แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการสอนของพระสอนศีลธรรม จังหวัดหนองคาย พบว่า ด้านเนื้อหาและหลักสูตร ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักสูตร และวางแผนการทำงานให้พระสอนศีลธรรมอย่างเป็นระบบระเบียบ ด้านการผลิตและการใช้สื่อ ควรอบรมการใช้สื่อเทคโนโลยีและสื่อประดิษฐ์ให้แก่พระสอนศีลธรรม และสนับสนุนงบประมาณด้านการดำเนินการสอน ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และเทคนิควิธีการสอนให้แก่พระสอนศีลธรรม ด้านการวัดผลประเมินผล ควรจัดอบรมเพิ่มประสิทธิภาพในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริงให้แกพระสอนศีลธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2543). คู่มือพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : กองศาสนศึกษา.

นราทิพย์ พุ่มทรัพย์. (2552). วิจัยชี้ “ครูสอนศีลธรรม” สอบตก เผยขาดความรู้-คร่ำครึ ทำเด็กไม่เชื่อ”. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2563 จาก https://mgronline.com/qol/detail/9520000076732

บุญเลี้ยง จอดนอก และคณะ. (2561). การศึกษาและพัฒนารูปแบบความร่วมมือของบุคลากรในสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ที่ส่งผลต่อความปลอดภัย การล่วงละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรงและการใช้สารเสพติด ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน รายงานวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ปรีชา กันธิยะ. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่พระมีส่วนร่วมในการสอนศีลธรรม. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสยาม.

พระครูปิยธรรมพิศิษฎ์ (บุญสุข ปิยธมฺโม). (2554). สภาพการเรียนการสอนศีลธรรมในสถานศึกษาในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์วิโรจน์ วรมงฺคโล (ใจซื่อสมบูรณ์). (2554). สภาพปัญหาด้านการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดธนากร สนฺตมโน (เพราะถะ). (2558). ศึกษาสมรรถนะการสอนศีลธรรมของพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมศักดิ์ ศรีบริบูรณ์. (2551). ศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระมหาสราวุธ สราวุโธ (แสงสี). (2561). การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีธรรมภาณี (วัลลภ โกวิโท). (2562). “จี้ครูพระพัฒนาการสอนแบบ “แอ็กทีฟ เลิร์นนิ่ง”. เรียกใช้เมื่อ 9 สิงหาคม 2563 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1464983

มัลลิกา โกยสนิ. (2547). การศึกษาความต้องการฝึกอบรมของครูสอนภาษาอังกฤษช่วงชั้น ป. 4-6ระดับต้น ในเขตการศึกษา 4. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.