นิราศหนองคายกับภาพสะท้อนของความขัดแย้งภายในประเทศจากอดีตถึงปัจจุบัน

Main Article Content

วัฒนา มุลเมืองแสน

บทคัดย่อ

         “นิราศหนองคาย” เป็นวรรณกรรมที่ถูกสั่งเผาทำลายทิ้งในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรีของประเทศไทย โดยที่การสั่งเผาทำลายดังกล่าวนี้ มีที่มาที่สลับซับซ้อนมากมายเกี่ยวความขัดแย้งในราชสำนัก โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์กับเหล่าอำมาตย์ผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศ แต่ความขัดแย้งดังกล่าว ไม่สามารถระบุได้ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพราะเรื่องราวต่าง ๆ ในราชสำนักมีลักษณะที่เป็น ความลับ ที่ยากจะรู้ได้ว่ามีความขัดแย้งมากน้อยเพียงใด มีความขัดแย้งกันในเรื่องราวหรือประเด็นใด การสั่งเผาหนังสือเรื่อง “นิราศหนองคาย” นี้ สมัยนั้นไม่มีใครกล้าให้ความสนใจ หรือจะไปให้ความสนใจกล่าวถึง เพราะการปกครองของไทยในสมัยนั้น เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เต็มรูปแบบ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นการปกครองที่เรียกว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับสั่งเผาวรรณคดีดังกล่าวได้รับความสนใจในหลาย ๆ ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาทางวรรณคดี ประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งในราชสำนัก ประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนไปมากมาย แต่ก็สามารถรักษาเอกราชของชาติเอาไว้ได้ แต่ในปัจจุบันมีการเรียกร้องให้มีการ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า คณะราษฎรปลดแอก นั้น ทำให้บทบาทของ “นิราศหนองคาย” ได้รับความสนใจในประเด็นที่ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยทำไมต้องมีการปฏิรูป หรือควรจะปฏิรูปในด้านใด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2559). นิราศหนองคาย (ทิม สุขยางค์). กรุงเทพมหานคร : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

ณัฐพล ใจจริง. (2563). ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรีย์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน.

บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2564). ปริศนา “นิราศหนองคาย” ทำไมต้องถูกสั่งเผา?. เรียกใช้เมือง 5 สิงหาคม 2564 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_6504

เปลื้อง ณ นคร. (2539). ปริทรรศน์แห่งวรรณคดีอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ผิน ทุ่งคา. (2561). “กูต้องตายเพราะอยากมีเมียแหม่ม” คดีความและวาทะของพระปรีชากลการ ผู้รับโทษประหาร. (บทความออนไลน์) 2561. เรียกใช้เมื่อ 30 สิงหาคม 2564 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_6763

มติชนออนไลน์. (2559). ‘นิราศหนองคาย’ 1 ใน 100 หนังสือดีควรอ่าน ที่เคยเป็นวรรณกรรมถูกสั่งเก็บ. เรียกใช้เมื่อ 4 มีนาคม 2564 จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_30603

วิกิพีเดีย. (2561). สงครามปราบฮ่อ. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2564 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามปราบฮ่อ.

ศิลปวัฒนธรรม. (2564). ก่อนพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ทรงกราบทูลความลับเรื่องใด ถวายรัชกาลที่ 4?. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2564 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_42727

สมสมัย ศรีศูทรพรรณ (จิตร ภูมิศักดิ์). (2561). โฉมหน้าศักดินาไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยคอลิตี้บุ้ค (2006) บจก.

สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2564). ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ จักรีปริทัศน์ รัชกาลที่ 4 ตอนที่ 1 อัจฉริยภาพผู้นำยุคเปลี่ยนผ่าน. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2564 จาก https://www.youtube.com/watch?v=1g8YIxfCGS8

เสรี วงษ์มณฑา. (2563). เรื่องลับมาก | “อานนท์” ฉีกไส้ใน..เปิดโปง “หนังสือเบิกเนตร” ปลดแอก. เรียกใช้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 จาก https://bit.ly/3oE5sYQ

หลวงพัฒนพงศ์ภักดี. (2494). นิราศหนองคาย. (คัดลอกโดยนายสวัสดิ์ จั่นเล็ก เมื่อ 27 ตุลาคม 2494).

อรรถพร ดีที่สุด. (2559). นิราศหนองคายฉบับสมุดฝรั่ง: ประเด็นวิพากษ์บุคคลและเหตุการณ์ที่ไม่ปรากฏในฉบับพิมพ์. เรียกใช้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/damrong/issue/view/6862

อานนท์ ศักดิ์วรวิชย์. (2563). เรื่องลับมาก | (ต่อ) "อานนท์" ฉีกไส้ใน..เปิดโปง "หนังสือเบิกเนตร" ปลดแอก. เรียกใช้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 จาก https://bit.ly/3oGQJMs

The Standard. (2020/2563). ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี การเมืองไทยใน พ.ศ. 2491-2500. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2564 จาก https://bit.ly/3apSjNJ