วิเคราะห์นโยบาย ยุทธศาสตร์และผลกระทบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ภัณฑิลา น้อยเจริญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์นโยบาย 2) เพื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย ใช้วิจัยเชิงคุณภาพ ตัวอย่างประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ประกอบการในพื้นที่และประชาชนหรือเครือข่ายประชาชน จำนวน 20 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย โดยใช้แบบสอบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการจัดประชุมกลุ่มย่อย สังเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ SWOT Analysis


ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย พบว่า จุดแข็งในการพัฒนาพื้นที่ คือ จังหวัดหนองคาย มีจุดแข็งคือ เป็นจังหวัดที่มีขีดความสามารถในการผลิต มีจุดอ่อนคือ การผลิตสินค้าทางการเกษตรยังใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเดิม มีโอกาสคือ มีแม่น้ำโขงเป็นแหล่งน้ำต้นทุน มีอุปสรรคคือ พื้นที่แนวชายแดนมีระยะยาว ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการรักษาความสงบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย พบว่า มีการกำหนดกลยุทธ์ตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคือ กลยุทธ์เชิงรุก ประกอบด้วยการพัฒนาระบบโครงสร้างด้านสาธารณูปโภค กลยุทธ์เชิงป้องกัน มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาคการเกษตร กลยุทธ์เชิงแก้ไข มีการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ กลยุทธ์เชิงรับที่ต้องปรับปรุง คือ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน ผลกระทบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย พบว่า มีผลกระทบเชิงบวก คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ผลกระทบเชิงลบ คือ ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมและกฎหมาย ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี ด้านสาธารณูปโภค ด้านสาธารณสุข ด้านแรงงาน ด้านความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). ข้อมูลธุรกิจเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย. ส่วนประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. กรุงเทพมหานคร : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.

ธัญกนกรัชต์ จิรโชคนิธิชโยธร. (25 ก.ค. 2563). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. (ภัณฑิลา น้อยเจริญ, ผู้สัมภาษณ์).

ดำรง แสงกวีเลิศและนันธิกา ทังสุพานิช. (2545). เขตเศรษฐกิจพิเศษ : แนวคิดใหม่ในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 9 (2), 42 – 43.

ทวี น้อยตะริ. (25 ก.ค. 2563). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. (ภัณฑิลา น้อยเจริญ, ผู้สัมภาษณ์).

พิมพรรณ โพธินักขา. (24 ก.ค. 2563). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. (ภัณฑิลา น้อยเจริญ, ผู้สัมภาษณ์).

วิลาวัณย์ กนกศิลป์. (4 ส.ค. 2563). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. (ภัณฑิลา น้อยเจริญ, ผู้สัมภาษณ์).

สุขสันต์ ชัยทองคำ. (4 ส.ค. 2563). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. (ภัณฑิลา น้อยเจริญ, ผู้สัมภาษณ์).

สุระชัย วิชาชัย. (4 ส.ค. 2563). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. (ภัณฑิลา น้อยเจริญ, ผู้สัมภาษณ์).

สุรชาติ บวรศักดิ์. (24 ก.ค. 2563). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. (ภัณฑิลา น้อยเจริญ, ผู้สัมภาษณ์).

สมพร ทองชมพู. (4 ส.ค. 2563). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. (ภัณฑิลา น้อยเจริญ, ผู้สัมภาษณ์).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่. (2559). เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน. นนทบุรี : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.