ปฎิจจสมุปบาท : ศาสตร์แห่งการใช้เหตุผลในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของปฏิจจสมุปบาทตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาความหมายของปฏิจจสมุปบาทตามทัศนะของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยใช้หลักปฏิจจสมุปบาทเป็นฐานในการปฏิบัติ โดยศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลชั้นปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎกและอรรถกถา และแหล่งข้อมูลชั้นทุติยภูมิ ได้แก่ ตำรา หนังสือ งานวิจัย และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ความหมายของปฏิจจสมุปบาทตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา หมายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน หรือธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม ส่วนความหมายของปฏิจจสมุปบาทตามทัศนะของนักปราชญ์ หมายถึงวงจรของเหตุผล โดยหาที่สุดไม่ได้ แนวคิดเหล่านี้เรียกว่า “ศาสตร์แห่งการให้เหตุผล” ที่ปรากฏในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นในกาย เวทนา จิต และธรรม ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด สามารถละคลายความยินดีลงได้ ผู้ปรารถนาความเป็นจริงตามเหตุผล ควรยินดีในการภาวนาอยู่เป็นนิตย์ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยใช้หลักปฏิจจสมุปบาทเป็นฐานนั้น ทำให้ทราบหลักความจริงของไตรลักษณ์ คือการเกิดดับของสังขารได้อย่างชัดเจนขึ้น การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เข้าถึงปัญญาที่สามารถเห็นแจ้งกระบวนการหมุนเวียนโดยใช้หลักปฏิจจสมุปบาทเป็นฐาน ซึ่งเป็นกระบวนการของการใช้เหตุผลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้นในกาย เวทนา จิต และธรรม ผู้ปฏิบัติย่อมกำหนดรู้เวทนาในปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายเหตุไปด้วยกัน โดยที่เวทนานั้นมีผัสสะเป็นปัจจัยให้เวทนาเกิด ดังนั้น การรู้แจ้งหลักปฏิจจสมุปบาทจึงมีความสำคัญต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้อย่างแท้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
บรรจบ บรรณรุจิ (2549), ปฏิจจสมุปบาท, พิมพ์ครั้งที่ 3 ,กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสาครธรรมรัตน์ ธมฺมรตโน, (2560), การวิเคราะห์เรื่องทุกข์ในปฏิจจสมุปบาทตามนัยแห่งนิพเพธิกสูตร,วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ 13 ฉบับพิเศษ เล่ม 1 มิถุนายน 2560.
พระอาจารย์,ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมฏฐานาจริยะ (2545), ปฏิจจสมุปบาทสังเขป
กถา, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้วการ พิมพ์.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ชุด คำวัด. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยตุ ฺโต). (2543). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 15, กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9,ราชบัณฑิต),(2558), ศัพท์วิเคราะห์,พิมพ์ครั้งที่ ๓,
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
พระมหาประทีป อภิวฑฺฒโน (แถวพันธุ์). (2550). ศึกษาเปรียบเทียบการอธิบายปฏิจจสมุปบาทตามแนว ของพุทธโฆษาจารย์กับพุทธทาสภิกขุ, ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพิสูตย์ จนฺทวํโส (พะนิรัมย์). (2554),การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับขันธ์ 5, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
พระวัฒนา าณวโร (ดาทอง). (2550). ศึกษาวิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาทเพื่อการตอบปัญหาความจริงของ โลกและจักรวาลในอภิปรัชญาตะวันตก. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสาทิพย์ อนาลโย, พระปลัดสมชาย ปโยโค และพระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี. (2562). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับการบรรรลุธรรม, วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 4(2), 225-236.
พระอนันต์ อิสุกาโร (เป้งไชยโม). (2549). ศึกษาการตีความปฏิจจสมุปบาทตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ,ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภูริทัต ศรีอร่าม, พระมหาสำราญ ญาณวุฑฺโฒ (จรรยเจริญ) ดร. (2554). “การวิเคราะห์เปรียญเทียบแนวคิดเรื่องปฏิสนธิวิญญาณตามหลักปฏิจจสมุปบาทของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาทกับหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ”. เรียกใช้เมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/289
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แม่ชีวรรนรักษ์ ธนธรรมทิศ. (2561). ศึกษาปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเหตุในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา,ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
P.A. Payutto. (2001). Buddhism and Sustainable Development. Bangkok: Sahathammika.
P.A. Payutto. (2016). Dictionary of Buddhism. (30th ed.). Bangkok: MCU Press.
Poonyanupab, S. (2007). Tipitaka for People. (17th ed.) Bangkok:
Mahamakutrajvidayalaya Press. Wannapok, S. (1997). The Explanation of Tipitaka. Bangkok: Horatnachai Printing