ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อุทัย จันทรรัตนกานต์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 


          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ตามหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคูขวาง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำนวน 351 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติค่าของ t-test ค่าสถิติความแปรปรวนทางเดียว และค่า F-test (One–way ANOVA) โดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


          ผลการศึกษาพบว่า 1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ระดับปานกลาง 1 ด้าน หลักความโปร่งใส มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม และหลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี แตกต่างกัน และประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กัญญาภัค แกว้เกิด. (2555). ความคิดเห็นต่อการบริหารงานเทศบาลตามหลกัธรรมาภิบาลของบุคลากรเทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. ใน สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. วิทยาลัยทองสุข.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร.

ชูชาติ วโรดมอุดมกูล. (2558). ความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2549). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย : แนวทางสู่ความสำเร็จ.

ณฐภณ ชัยชนะ. (2555). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของเทศบาลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐชนก จริงดี. (2565). ทัศนะของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ธนพงษ์ คงศิลป์ทรัพย์. (2562). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

ธเนศ เธียรนันท์. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลเมืองท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธเนศพล อินทร์จันทร์. (2564). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงาน ตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : ตุลาการพิมพ์.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ. (2544). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (2546). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก (9 ตุลาคม 2546).

ภูมินทร์ แฝงจันดา. (2553). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุ่งฤดี โฉมทอง. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2552). ประชาธิปไตยครึ่งใบ : การเมืองไทยในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ. ใน รายงานการวิจัย, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. กรุงเทพมหานคร : มิสเตอร์ก๊อปปี้.

วลินเนศวร์ ธีรการุณวงค์. (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2548). กลยุทธ์การตลาด การบริหารการตลาด และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สุรเมธ ทองด้วง. (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วน ตำบลโพธิ์ทองอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.