ปัญหาความรับผิดทางการแพทย์จากการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในวิชาชีพเวชกรรม

Main Article Content

ณิชาภา วงษ์ปัญญา
ปรมาภรณ์ วีระพันธ์
ดามร คำไตรย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาความรับผิดทางการแพทย์จากการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย และแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ บทความทางกฎหมาย บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม และทำการศึกษาเทียบเคียงกับแนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป


          ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเกิดความเสียหายจากการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์
ใช้ในวิชาชีพเวชกรรมในสถานพยาบาลของประเทศไทยนั้น กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย
ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งในเรื่องการรับรองเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพ
เวชกรรม การกำหนดตัวบุคคลที่ต้องรับผิดทางกฎหมายและกระบวนการในการเยียวยาความเสียหาย
ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้เสียหาย แพทย์ หรือผู้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการแก้ไขด้วยการปรับปรุงมาตรการ ข้อบังคับหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตรับรองเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยให้มีการกำหนดคำนิยามที่ชัดเจน กำหนดกระบวนการขออนุญาต และให้มีหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม และแนวทางในแก้ไขปัญหาความรับผิดจากการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในวิชาชีพเวชกรรม โดยให้มีการกำหนดขอบเขตความรับผิดและบุคคลที่ต้องรับผิดให้ชัดเจน รวมไปถึงการเยียวยาความเสียหายที่เป็นธรรมและสมควรแก่กรณีมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). “หุ่นยนต์ผ่าตัด” ตัวช่วยแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพรักษา. เรียกใช้เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/990958.

กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการขอหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

มานิตย์ จุมปา. (2554). คำอธิบายกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery). เรียกใช้เมื่อ 17 มีนาคม 2566 จาก https://www.bumrungrad.com/th/treatments/robotic-surgery.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2561). หุ่นยนต์ผ่าตัด. เรียกใช้เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://thaipublica.org/2018/03/varakorn-245/.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ปัญญาประดิษฐ์ในการให้บริการของภาครัฐ. เรียกใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/ZiFPH.

อนันต์จันทร โอภากร. (2547). กฎหมายว่าด้วยความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดขึ้นจากสินค้าที่ขาดความปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุศักดิ์ เยี่ยงพฤกษาวัลย์. (2561). ความเชี่ยวชาญและใส่ใจของทีมคุณหมอประจำศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดบำรุงราษฎร์. เรียกใช้เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://shorturl.asia/FUHfV.

BBC News. (2015). Robotic surgery linked to 144 deaths in the US. Retrieved August 1, 2023 from https://www.bbc.com/news/technology-33609495.

Frank Griffin. (2021). Artificial Intelligence and Liability in Health care. Health Matrix: The Journal of law-Medicine, 1(31), 95-102.

The AI Act. (2021). The Act. Retrieved August 1, 2023 from https://shorturl.asia/QHVPz.