ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อถ่านในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ชัชวาล พวงวาสนา
สมเกียรติ เกียรติเจริญ
รังสรรค์ อินทน์จันทน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการตลาดในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อถ่านในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อถ่านในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อถ่านในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคที่ใช้ถ่าน จำนวน 200 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น สุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกตามวิธีของSeymour Sudman ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการตลาดในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับการตัดสินใจซื้อถ่านในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อถ่านในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .541 (R = .541) ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปร ร้อยละ 29.2 มีค่า R2 = .292 และมีค่า F = 20.123 แสดงว่าตัวแปรอิสระส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อถ่าน และ 4) ข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้ค้าควรบรรจุถ่านให้มีหลายขนาดบรรจุ เพื่อให้ตรงกับความต้องการใช้ของผู้บริโภค ควรคัดเลือกถ่านที่ทำมาจากไม้ที่ให้ความร้อนสูงและอยู่ได้นาน ควรบรรจุถ่านที่มีลักษณะเป็นก้อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). สรุปสถานการณ์การใช้พลังงานไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565. เรียกใช้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/J1ZXQ.

ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2550). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณรัชช์อร สิรวิชญ์ชัยเดช. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแฟรนไชส์สัญชาติไทยของผู้ประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมียม กรณีศึกษาผู้บริโภค ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เดชอุดม ชาร์โคล. (2565). ความต้องการถ่าน ปิ้ง ย่าง หุง ต้ม. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/i1rV2.

ทัศน์วรรณ ศรีสวัสดิ์นุภาพ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน ภาคนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

นฤมล ภานุนำภา และคณะ. (2557). โครงการวิจัยการใช้ประโยชน์ไม้ด้านพลังงานและถ่าน. ใน รายงานการวิจัย. สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้.

บุญญิศา พันสุเภาดี. (2554). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกเช่าหอพักของนักศึกษาในเขตเทศบาลนครราชสีมา. ใน ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ฤทธิไกร ไชยงาม. (2565). ชนิดของถ่าน. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://www.gotoknow.org/posts/692404.

สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์. (2551). การสร้างเตาหุงต้มเชื้อเพลิงชีวิมวลสำหรับชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา.

อนุชา ทะรา. (2565). ประเภทของถ่าน. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=35303.

Kotler, P., Burton, S. Deans, K., Brown, L., & Armstrong, G. (2015). Marketing. 9th ed. New South Wales: Pearson Australia.

Schiffiman, L., O'Cass, A., Paladino, A., & Carlson, J. (2013). Consumer Behavior. Pearson Higher Education AU.

Seymour Sudman. (1976). Applied Sampling. New York : Academic Press.