ภาพตัวแทนสตรีที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องอีเรียมซิ่ง

Main Article Content

ณัฐธิกา อุยสาห์
ณัฐพงศ์ เขียวศรี
สุภัทรชรี บุญประชุม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องภาพยนตร์ เรื่องอีเรียมซิ่ง 2) วิเคราะห์ภาพตัวแทนของสตรีในภาพยนตร์เรื่องอีเรียมซิ่ง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่อง และแนวคิดภาพตัวแทน  


                             ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องอีเรียมซิ่ง       มีองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ จากโครงสร้างการเล่าเรื่อง ได้แก่ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ฉาก ความขัดแย้ง ตัวละคร สัญลักษณ์พิเศษ และมุมมองในการเล่าเรื่อง มีแก่นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความรัก ความอิจฉา ความดี ความชั่ว และความสัมพันธ์ของครอบครัว โดยมีฉากในที่สาธารณะและฉากในบ้าน นำเสนอความขัดแย้งระหว่างคนกับคน ความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร และความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม พร้อมทั้งตีความหมายจากสัญลักษณ์ผ่านรูปภาพ ตามสัญลักษณ์พิเศษแทนความเชื่อแทนผู้หญิงตามอุดมคติ และแทนผู้หญิงที่ไม่ตรงตามอุดมคติ รวมถึงมุมมองในการเล่าเรื่องซึ่งตัวละครหลักเป็นผู้เล่าเรื่องในมุมมองของตัวเองผ่านมุมมองมุมเดียว เมื่อศึกษาถึงในเรื่องของภาพตัวแทนสตรีในภาพยนตร์เรื่องอีเรียมซิ่ง ผู้ศึกษาได้ใช้แนวคิดภาพตัวแทน ประกอบด้วย 2 กระบวนการ ได้แก่ ภาพแทนความคิดและสัญลักษณ์ มาใช้ในการวิเคราะห์ พบภาพตัวแทนสตรี ผู้หญิงกับการถูกทำร้ายทางร่างกาย ผู้หญิงกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้หญิงกับความสัมพันธ์ครอบครัว ผู้หญิงกับพรหมจารี ผู้หญิงกับบทบาทความเป็นผู้นำ ผู้หญิงกับบทบาทการทำงาน ผู้หญิงกับความเมตตาปราณี ผู้หญิงกับการปรารถนาความรัก ผู้หญิงกับบทบาทความกตัญญู และพบสัญลักษณ์แทนตัวตนของผู้หญิง สัญลักษณ์แทนสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). ความเรียงว่าด้วยสตรีกับสื่อมวลชน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). ภาพยนตร์กับการประกอบสร้างสังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์และชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรพงศ์ เสรีสำราญ. (2555). ภาพสะท้อนของสตรีเกาหลีจากการสร้างตัวละครนำหญิงในภาพยนตร์ของ คิม คี-ด็อค. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2565 จาก https://shorturl.asia/8w0xl.

พนิดา หันสวาสดิ์. (2544). ผู้หญิงในภาพยนตร์ กระบวนการผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทรวดี ไชยชนะ. (2561). ศึกษาเรื่องการสื่อสารภาพตัวแทนสตรีผ่านภาพยนตร์ไทย. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เย็นจิตร ถิ่นขาม. (2555). สตรีนิยม. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2565 จาก https://shorturl.asia/faZdr.

วรัทพร ศรีจันทร์. (2551). การเล่าเรื่องและการดัดแปลง เดธโน้ต ฉบับหนังสือการ์ตูนแอนิเมชันภาพยนตร์และนวนิยาย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวาทวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรวัฒน์ อินทรพร. (2541). การศึกษาแนวคิดสิทธิสตรีในนวนิยายของโบตั๋น. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2561). สารกับการสื่อความหมาย. กรุงเทพมหานคร : แดเน็กซ์อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น.

องอาจ สิงห์ลำพอง. (2557). การอภิปรายความการสื่อสารทางการเมืองในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. กรุงเทพมหานคร : บจม.ซีเอ็ดคีเอชั่น.

องอาจ สิงห์ลำพอง. (2561). การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านการเล่าเรื่องจากละครชุดอินเดีย สีดารามศึกวันมหาลงกา. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(1), 259-301.

THAILAND BOXOFFICE TEAM. (2564, กุมภาพันธ์ 23). อันดับหนังทำเงินสูงสุดในไทยรายได้ประจำสัปดาห์. เรียกใช้เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://shorturl.asia/her6E.