การลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ 2) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ 3) เพื่อศึกษาการลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนครัวเรือนตามทะเบียนราษฎรในตำบลโพรงมะเดื่อ ประชากร จำนวน 2,863 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 351 คน คำนวณได้จากสูตรของทาโร ยามาเน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลาก ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .949 (R = .949) อธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้เท่ากับร้อยละ 90.0 มีค่า R2 = .900 และมีค่า F = 382.282 แสดงว่า ตัวแปรอิสระส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ 4) ข้อเสนอแนะต่อการลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตำบลโพรงมะเดื่อ คือ ควรมีการส่งเสริมในการให้ทุนเกษตรกรในการปลูกผักปลอดสารพิษ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณสำหรับเครื่องมือในการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
ธนกร พจน์ธนาบันเทิง. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของนักลงทุนกลุ่มวัยทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปฎิภาณ พาณิชเลิศ. (2564). พฤติกรรมการลงทุน และปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในคริปโตเคอเรนซี่. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พงศ์ภาคย์ อินพ่วง. (2563). แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะร่วมกับชุมชน เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) ในพื้นที่โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริบึงกุ่ม. ใน รายงานการค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พรรษกร จิรภิญโญ. (2559). ปัจจัยการลงทุนและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของนักลงุทนทั่วไปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2566). แนวคิดและทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่. เรียกใช้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566. จาก www.http://slbkb.psu.ac.th.
รุสลีนา เบ็ญอับดุลลอฮ. (2564). แนวทางการพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะชุมชนเมืองอย่างยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดการสัญจรอัจฉริยะ (smart mobility) กรณีศึกษาโครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ เขตบึงกุ่ม. ใน รายงานการค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ลภัสรดา สหัสสพาศน์และคณะ. (2561). รูปแบบกลยุทธ์การจัดการพื้นที่สร้างสรรค์จังหวัดเพชรบุรีตามบริบทสังคมประเทศไทย 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(2), 1056-1072.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
องค์การบริหารส่วนโพรงมะเดื่อ. (2565). แผนพัฒนาสามปี. นครปฐม : องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ.
Taro Yamane. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York : Harper and Row Publications.
Williams, Walter. (1971). Social Policy Research and Analysis: The Experience in the Federal Social Agencies. New York : American Elsevier Publishing Co.