การพัฒนาผลการเรียนรู้หน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่นโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน หน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) ศึกษาทักษะในการประดิษฐ์ชิ้นงาน หน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น โดยใช้โครงงานเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองตากวย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 11 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะในการประดิษฐ์ชิ้นงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนในหน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนที่ 26.91 หรือคิดเป็นร้อยละ 89.7 2) ทักษะในการประดิษฐ์ชิ้นงานในหน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น พบว่า มีระดับทักษะอยู่ในเกณฑ์สูงมาก โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนที่ 4.80 หรือคิดเป็นร้อยละ 96.04 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุท้องถิ่น พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงมาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.69
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กลุ่มฝ่ายงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสเครือข่ายสถานศึกษาธาตุ. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561. สกลนคร : โรงเรียนบ้านหนองตากวย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชัน.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : หจก. ทิพยวิสุทธิ.
ถวัลย์ มาศจรัส และ มณี เรืองขำ. (2549). นวัตกรรมชุด แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงงาน (Project). กรุงเทพมหานคร : ธารอักษร.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตรการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning: PBL). ใน นิตยสาร สสวท. 42(188), 14-17.
ปัญญา ศรีผายวงษ์. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานในรูปแบบบริษัทจำลอง รายวิชาโครงงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2547). โครงงานเพื่อการเรียนรู้หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สกุลรัตน์ แก้วสมบัติ. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการแปรรูปอาหารโดยการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ส่งผลต่อทักษะปฏิบัติ ความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สิทธิญา รัสสัยการ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
หฤทัย สัจธรรม. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยว. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อรศิริ เลิศกิตติสุข. (2548). การจัดการเรียนการสอนวิชาโครงงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อานนท์ ภิลาภ. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.