สำนักปฏิบัติธรรมกับพุทธวิธีการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ในบริบทของสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธวิธีการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสำนักปฏิบัติธรรม และเพื่อศึกษารูปแบบของสำนักปฏิบัติธรรมในบริบทของสังคมสมัยใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันมีสำนักปฏิบัติธรรมที่มุ่งเน้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับสิ่งแวดล้อมตามหลักพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น โดยมีระเบียบข้อกำหนดในการจัดตั้งสถานที่ปฏิบัติธรรม เพื่อใช้ในการอนุเคราะห์แก่ประชาชนได้เข้าไปศึกษาหลักธรรมคำสอน โดยในประเทศไทยมีสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ 5 สาย ได้แก่ 1. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายพุท – โธ ตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 2. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายสัมมา – อะระหัง ตามแนวของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสาโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ 3. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายพอง – ยุบ ตามแนวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ราชวรมหาวิหาร 4. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายอานาปานสติ ตามแนวของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ และ 5. สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สายเคลื่อนไหว ตามแนวของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ในส่วนของการศึกษารูปแบบของสำนักปฏิบัติธรรมในบริบทของสังคมสมัยใหม่ พบว่า การจัดตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในสังคมปัจจุบัน โดยแยกประเด็นศึกษาแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต แนวคิดพระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม สำนักปฏิบัติธรรมในบริบทของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งวัดได้ปรับตัวในการสร้างสถานที่สัปปายะ ด้วยหลัก 5 ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย ทำให้เด็กยุคใหม่หันมาสนใจและเข้าสู่สำนักปฏิบัติธรรมในรูปแบบนี้มากขึ้น เพราะวัดมีความสะอาด มีความปลอดภัย มีความน่ารื่นรมย์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
จงลักษณ์ เผือกผิววงศ์. (2560). การประยุกต์ใช้สติในการดำเนินชีวิตประจำวัน : ศึกษากรณีผู้ปฏิบัติธรรมวัดคู้บอน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปกรณ์ ปรียากร. (2554). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพานิช.
ป๋วย อึ้งภากรณ์. (2530). ศาสนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โกมลคีมมทอง.
พระครูปลัดนิคม นาควโร (รอดอุไร). (2561). การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาจรรยา สุทธิญาโน. (2536). พระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
พระมหาอุทัย พลเทโว. (2561). บูรณาการพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2549). การบริหารวัด. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2554). ความหมายของการพัฒนา คำที่มีความใกล้เคียง และแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2560). สำนักปฏิบัติธรรมที่สมนามคือฟื้นธรรม ฟื้นถิ่น ฟื้นไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมผลิธัมม์.
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปญฺโญ). (2555). สัมโมทนียกถาในคู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐาน 5 สาย. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). สร้างสมาธิให้คุณลูก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว.