ผลกระทบด้านเศรษฐกิจมหภาคต่อดุลการชำระเงินภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่ส่งผลกระทบต่อดุลการชำระเงิน โดยศึกษาภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกัน ศึกษาผ่านประเทศที่มีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด 4 ประเทศ ซึ่งประเทศที่มีระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ได้แก่ ประเทศกรีซ และประเทศเอกวาดอร์ ส่วนประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ได้แก่ ประเทศไทย และประเทศอินโดนีเซีย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ และนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาแปรผล มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษานโยบายการคลังและดุลการชำระเงิน ใน 4 ประเทศ ที่มีการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ในประเทศกรณีศึกษา คือ ประเทศกรีซ และประเทศเอกวาดอร์ ประเทศที่เป็นตัวอย่างในการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว คือ ประเทศไทย และประเทศอินโดนีเซีย โดยศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2536-2565 รวมทั้งสิ้น 30 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เศรษฐกิจของไทยอยู่ทั้งในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวและเศรษฐกิจเติบโต โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าดุลการชำระเงิน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาค และมูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนคงที่และลอยตัว
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจมหภาคต่อดุลการชำระเงิน ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ประกอบด้วย ประเทศกรีซและประเทศเอกวาดอร์ ด้านค่าใช้จ่ายรัฐบาล (Gi,t) มีผลต่อดุลการชำระเงิน โดยเมื่อค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ดุลการชำระเงินเพิ่มขึ้นด้วย 2) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมหภาคด้านรายได้ที่แท้จริง (Yi,t) ไม่มีความสัมพันธ์กับดุลการชำระเงิน และผลกระทบด้านเศรษฐกิจมหภาคต่อดุลการชำระเงิน ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ประกอบด้วย ประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาคด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Exi,t) มีผลต่อดุลการชำระเงิน โดยเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ดุลการชำระเงินเพิ่มขึ้นด้วย 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาคด้านปริมาณเงิน (Mi,t) ไม่มีความสัมพันธ์กับดุลการชำระเงิน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2537). การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). ดุลการชำระเงิน. เรียกใช้เมื่อ 11 เมษายน 2567 จาก https://shorturl.asia/THfQV.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). สถิติ. เรียกใช้เมื่อ 11 เมษายน 2567 จากhttps://www.bot.or.th/th/statistics.html.
เบญจวรรณ จันทระ. (2553). ผลของนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และดุลการชำระเงินต่อระบบเศรษฐกิจประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศรชัย บัวจ้อย. (2543). การศึกษาปัจจัยกำหนดดุลการชำระเงินของประเทศไทยตามแบบจำลองของ Portfolio Balance. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2561). นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ. เรียกใช้เมื่อ 4 เมษายน 2567 จาก https://www.fpo.go.th/main/Important-economic-policy.aspx.
Osisanwo, B. G. (2018). Impact of Fiscal Policy on Balance of Payments in Nigeria. Journal of Management and Social Sciences, Retrieved April 19, 2024, from https://doi.org/10.53704/jmss.v7i1.198.
Pastore, A. C. and Pinotti, M. C. (2005). “Fiscal policy, inflation, and the balance of payments in Brazil.” In: GIAVAZZI, F., GOLDFAJN, I., HERRERA, S. (eds.). Inflation Targeting, Debt, and the Brazilian Experience, 1999 to 2003. Cambridge, Mass.: MIT Press.