ระบบการประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาชั้นพนักงานสอบสวน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนในการให้ประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา รวมถึงกระบวนการยุติธรรมในระบบประกันตัว การใช้ดุลพินิจในการตั้งข้อหา และการควบคุมนายประกันอาชีพ และการเปรียบเทียบกับกฎหมายระบบการประกันตัวในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงระบบการประกันตัวในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากหนังสือ บทความ และเอกสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
ผลการศึกษาพบว่า พนักงานสอบสวนในประเทศไทยมีดุลพินิจในการพิจารณาคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาคดีอาญา โดยต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นประกันตัวเพื่อสู้คดี แต่ระบบประกันตัวมุ่งเน้นที่หลักประกันและการพิจารณาความร้ายแรงของข้อหา โดยมีนายประกันอาชีพเข้ามาเกี่ยวข้องในการประกันตัวแทนผู้ต้องหา กระบวนยุติธรรมในระบบประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา จะต้องมีการควบคุมการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนและควบคุมนายประกันอาชีพ กระบวนการยุติธรรมชั้นสอบสวนในประเทศไทย มีทั้งชั้นพนักงานสอบสวนและชั้นพนักงานอัยการ แต่ละชั้นมีกฎหมายกำหนดการยื่นประกันตัวผู้ต้องหาไว้ จากการศึกษาพบว่า ควรมีกฎหมายกลางกำหนดไม่ให้มีการซ้ำซ้อน ประเทศอังกฤษมีแนวทางการประกันตัว โดยไม่เน้นการใช้หลักประกัน แต่ให้ผู้ต้องหาทำการรับรองว่าจะมาตามนัด ในสหรัฐอเมริกาผู้พิพากษามีบทบาทในการพิจารณาเรื่องการประกันตัว เพื่อควบคุมอำนาจระหว่างพนักงานสอบสวนและผู้พิพากษา ดังนั้น จึงควรมีหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนและการส่งหลักประกัน เพื่อให้สิทธิผู้ต้องหาได้รับการพิจารณาคดีอย่างเท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (2477). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 10 หน้า 598 (วันที่ 10 มิถุนายน 2478)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 หน้า 1 (วันที่ 6 มิถุนายน 2560)
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2550). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2556). คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2567 จาก https://shorturl.asia/aRlHt.
สำนักงานอัยการสูงสุด. (2563). ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2567 จาก https://shorturl.asia/gxLBV.
สุรินทร์ มากชูชิต. (2555). ระบบการปล่อยชั่วคราวผู้ถูกกล่าวหา : ศึกษาการใช้หลักประกันในคดีอาญา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิวัฒน์ สุดสาว. (2554). หลักความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. วารสารจุลนิติ, 8(1), 145-155.
อรัญญา ใจยั่งยืน. (2557). การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาศึกษาเฉพาะกรณีการปล่อยตัวชั่วคราว. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Susanne Dell. (1976). The Bail Act 1976. The British Journal of Criminology, 17(2), 185-188.
U.S. Code: Title 18 – Crimes and Criminal Procedure. (1966). PART II- Criminal Procedure, Chapter 207 - RELESE AND DETENTION PENDING JUDICIAL PROCEEDINGS, Section 3147. เรียกใช้เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https:///www.govinfo.gov>details.