การเปรียบเทียบกฎหมายล้มละลายและกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ของประเทศไทยและการล้มละลายของวิสาหกิจของสปป.ลาว

Main Article Content

เล่งสัก บุนทะลาด
ดารณี แสงนิล
คมกฤช ฟองย้อย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายล้มละลายและกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยประเทศไทยได้ตรากฎหมายล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการปรับโครงสร้างหนี้และรักษาสภาพคล่อง กฎหมายไทยยังได้นำหลักการพักการชำระหนี้ มาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้กิจการเข้าสู่กระบวนการล้มละลายทันที ซึ่งช่วยให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เพิ่มโอกาสในการรักษาสภาพเศรษฐกิจและการจ้างงาน ส่วนกฎหมายล้มละลายของ สปป.ลาว ซึ่งเดิมมีอิทธิพลจากกฎหมายฝรั่งเศส ได้กำหนดให้ใช้เฉพาะกับวิสาหกิจและนิติบุคคล โดยไม่ครอบคลุมถึงบุคคลธรรมดา ส่วนสปป.ลาวยังไม่มีการนำหลักการพักการชำระหนี้มาใช้ ส่งผลให้ลูกหนี้ขาดความยืดหยุ่นในการฟื้นฟูกิจการ และขาดมาตรการช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ยากลำบากทางการเงิน การเปรียบเทียบเงื่อนไขในการยื่นคำร้องขอล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ โดยในประเทศไทยกำหนดเกณฑ์การยื่นคำร้องสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีหนี้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท และนิติบุคคลที่มีหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท ขณะที่ใน สปป.ลาว กำหนดเงื่อนไขการล้มละลายของวิสาหกิจในกรณีมีหนี้เกิน 10 ล้านกีบ โดยมีมาตรการการควบคุมและแต่งตั้งผู้จัดการแผนธุรกิจเพื่อเข้ามาบริหารกิจการตามมติของเจ้าหนี้ ส่วนลาวยังขาดกฎหมายและกระบวนการที่รองรับบุคคลธรรมดาในกรณีที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ รวมถึงการขาดลำดับการชำระหนี้ที่ครอบคลุมและการฟื้นฟูกิจการที่เป็นระบบ จึงเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเติบโตของธุรกิจ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ. (2550). แนวทางการร่างกฎหมายล้มละลายของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL). กรุงเทพมหานคร: กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม.

ธนกร วรปรัชญากูล. (2544). หลักเบื้องต้นของกฎหมายว่าด้วยกิจการที่ประสบปัญหาทางการเงินในประเทศฝรั่งเศส. ดุลพาห, 3(48), 5-22.

บริษัทสำนักกฎหมายสยามพรีเมียร์จำกัด. (2560). ข้อมูลกฎหมายของประเทศลาวและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนของประเทศลาว. ใน รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรรมการกฤษฎีกา.

บุญล้อม ศรีธรรมวรรณ์. (2557). กฎหมายล้มละลาย: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับประเทศไทย. MFU CONNEXION, 3(2), 218-248.

วิชา มหาคุณ. (2547). หลักการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้. วารสารกฎหมาย, 22(2), 21-25.

สำนักงานคณะกรรรมการกฤษฎีกา. (2559). โครงการจัดทำข้อมูลกฎหมายของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวและข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรม การเมือง และความมั่นคงของสปป.ลาว. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Grant W.Newton. (2009). Bankruptcy &Insolvency Accounting Practice and Procedure. Wiley Corporate F&A Book