การพัฒนาผลการเรียนรู้ทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ

Main Article Content

ศิริวัฒน์ โทจันทร์
อธิราชย์ นันขันตี
พิจิตรา ธงพานิช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามเกณฑ์ร้อยละ 80 2. เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองหอยป่าหวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t


         ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 85.23 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 2) นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีทักษะการอ่านและการเขียนคำสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กนกวรรณ ภู่ทิม. (2562). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

__________¬¬¬_________. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : [ม.ป.พ.].

ธงชัย จันทร์หอม. (2566). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สุวิริยาสาส์น.

พิมพ์วรรณ มุสิกรัตน์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำราชาศัพท์. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการ. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). การประเมินทางการศึกษา : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

___________. (2549). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

___________. (2553). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เสริมพงศ์ วงศ์กมลาไสย. (2548). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง หลวงตาพลวง โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบจิกซอว์และแผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Johnson and Johnson,R. T. (1987). Joining Together Group Theory and Group Skills. [n.p.]

Riebe et al. (2016). Cooperative Learning :Theory Research and Practice. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.