จริยธรรมในการตีพิมพ์
วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 มีความมุ่งมั้นที่จะรักษาจริยธรรมในการตีพิมพ์ โดยทุกฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างเคร่งครัด
บทบาทหน้าที่ของผู้เขียน
1. ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น และต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. ผู้เขียนต้องรายงานผลที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
3. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำข้อความใดๆ มาใช้ในผลงานของตนเอง
4. ผู้เขียนต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในวารสาร
5. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
6. ผู้เขียนต้องไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารวิชาการ
สถาบันการอาชีวภาคเหนือ 3 แล้ว
7. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (หากมี)
8. ผู้เขียนต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมิน
1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วน หรือทุกส่วนของบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ จนกว่าบทความจะตีพิมพ์
2. หลังจากได้รับบทความจากกองบรรณาธิการ ถ้าผู้ประเมินเป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นที่ ทำให้ไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
3. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน
4. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญด้านเนื้อหาในบทความ คุณภาพของการวิเคราะห์ข้อมูลและความเข้มข้นของผลงาน
5. หากผู้ประเมินตรวจสอบพบว่า เป็นบทความคัดคอกผลงานชิ้นอื่น หรือมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับ ผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
6. ผู้ประเมินต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนด
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการมีหน้าที่กลั่นกรองและพิจารณาคุณภาพของบทความทุกบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ในทุกกรณี
3. บรรณาธิการต้องคัดเลือกบทความเพื่อมาตีพิมพ์เผยแพร่ หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจาก ความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหาและนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
4. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่นมาแล้ว
5. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความโดยใช้เหตุผลและความรู้สึกส่วนตัว
6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมิน และกองบรรณาธิการ
7. บรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ประเมิน รวมถึงไม่ปิดกั้นหรือแทรกแซงข้อมูล ที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ประเมินและผู้เขียน
8. ก่อนบรรณาธิการ “ตอบรับ” หรือ ‘ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ ต้องผ่านการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นใน กระบวนการประเมินบทความ หากพบการคัดลอกผลงานดังกล่าว บรรณาธิการจะหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียน หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง
9. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด