การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- เป็นบทความที่ไม่เคยถูกนำไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน เจ้าของบทความต้องเป็นผู้รวบรวมและเรียบเรียงขึ้นมาด้วยตนเอง
- ส่งไฟล์ที่อยู่ในรูปแบบ Microsoft Word
- หากมีให้ระบุ URL สำหรับการอ้างอิง
- ข้อความมีระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 และภาพประกอบตัวเลขและตารางทั้งหมดจะถูกวางไว้ในข้อความหรือในจุดที่เหมาะสมแทนที่จะอยู่ที่ตอนท้าย
- อื่น ๆ เป็นไปตามหลักเกณฑ์สำหรับผู้เขียน
คำแนะนำผู้แต่ง
- ผลงานที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
- ต้นฉบับที่ส่งตีพิมพ์ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น
- ต้นฉบับต้องผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
- ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3
การเขียนอ้างอิงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- เอกสารอ้างอิงทั้งหมดในบทความวิจัยสามารถสืบค้นหาแหล่งที่มาได้จริง
- เขียนรายการเอกสารอ้างอิงครบถ้วนตามที่มีการอ้างอิงในบทความวิจัย
- ใช้ระบบตัวเลขอ้างอิงในเนื้อหาและแสดงรายการเอกสารอ้างอิง ถูกต้อง ครบถ้วน
ส่วนประกอบของรายการอ้างอิงประกอบด้วย
1) ชื่อผู้แต่ง ไม่ใส่คำนำหน้าชื่อ เช่น นาย นาง และไม่ใส่คุณวุฒิ ตำแหน่ง หรือยศ เช่น ดร. นายแพทย์ศาสตราจารย์ พลเอก เป็นต้น
2) ปีที่พิมพ์ใส่อยู่ในวงเล็บใส่เฉพาะตัวเลขปี เช่น (2556) ให้ใส่ปีที่พิมพ์ที่ปรากฏในหน้าปกใน ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ระบุด้วยอักษรย่อใส่ในวงเล็บดังนี้ (ม.ป.ป.) สำหรับภาษาอังกฤษใช้ no date ดังนี้ (n.d.)
3) ชื่อเอกสาร พิมพ์ชื่อเรื่องเต็มไม่ใช้การย่อ
4) ครั้งที่พิมพ์ การอ้างอิงเอกสารที่พิมพ์ครั้งแรกไม่ต้องระบุครั้งที่พิมพ์นอกจากมีการตีพิมพ์มากกว่าหนึ่งครั้ง และระบุปีที่พิมพ์ด้วย
5) ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ ประกอบด้วย สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์
5.1 สถานที่พิมพ์ (เมือง/จังหวัด) ถ้าไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ให้ระบุด้วยอักษรย่อดังนี้ ม.ป.ท. ภาษาอังกฤษใช้ no place ระบุด้วยอักษรย่อดังนี้ n.p.
5.2 สำนักพิมพ์ให้ใส่เฉพาะสำนักพิมพ์ หากไม่มีสำนักพิมพ์จึงใส่โรงพิมพ์ โดยใส่เฉพาะชื่อดังนี้ ซีเอ็ดยูเคชั่น สุขภาพใจ ยกเว้นสำนักพิมพ์ที่เป็นของสมาคมหรือมหาวิทยาลัยใส่ดังนี้ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.3 ถ้าไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ให้ระบุด้วยตัวอักษรย่อ ดังนี้ ม.ป.ท. ภาษาอังกฤษใช้ no publisher ระบุด้วยอักษรย่อดังนี้ n.p. ถ้าไม่ปรากฏทั้งเมืองที่พิมพ์และสำนักพิมพ์ให้ใส่ ม.ป.ท. หรือ n.p. เพียงครั้งเดียว
6) การเขียนเลขหน้า นิยมเฉพาะจากเอกสารอ้างอิงที่เป็นบทความหรือหนังสือ
สุมาลี มีสกุล [2] กล่าวว่า หลักการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน ครูผู้สอนต้องหาแนวทางในการจัดสภาพการเรียนการสอนให้ยืดหยุ่นต่อการเรียนของผู้ใหญ่ด้วยวิธีการที่หลากหลาย การจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาผู้ใหญ่ได้เรียนรู้เนื้อหาก่อนเรียน ได้ทบทวนสืบค้นก่อนเรียนจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น
...การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการลดความชื้นออกจากผลผลิตทางการเกษตร โดยวิธีการตากแดดกลางแจ้งมีการทำมานานแล้ว ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการตากแห้งจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณความชื้นในวัสดุที่นำมาตากแห้งความเข้มของรังสีแสงอาทิตย์ รวมทั้งองค์ประกอบของสภาพดิน ฟ้า อากาศ อากาศไม่สามารถควบคุมได้ และการไล่ความชื้นโดยวิธีการตากแห้งนั้นต้องใช้เวลานาน [3,4]
การเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความ
การใส่รายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความวิจัยให้เรียงลำดับตามตัวเลข
หนังสือ
[1] ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์. จำนวน(ถ้ามี). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
[1] กิจคณิตพงศ์ อินทอง. (2556). เทคนิคการเขียนบันทึกเสนอและการเกษียนหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ 2. จำนวน 5,000 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
บทความในวารสาร
[2] ผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่ ฉบับที่ . เลขหน้า.
ตัวอย่าง
[2] วัฒนา แก้วมณี. (2557). แบบจำลองเซลล์เชื้อเพลิงเช่นPEMอย่างง่ายสำหรับวิศวกรไฟฟ้า.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. 122-129.
บทความในหนังสือพิมพ์
[3] ผู้เขียนบทความ. (วันที่ เดือน ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. หนังสือพิมพ์. เลขหน้า.
ตัวอย่าง
[3] สาธิต บุษบก. (วันที่ 22 มิถุนายน 2552). พบฟอสซิลเต่าสกุลใหม่และชนิดของโลกในไทย.
ไทยรัฐ. 5.
วิทยานิพนธ์
[4] ผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์. สาขาวิชา. ภาควิชา. คณะมหาวิทยาลัย/สถาบัน.
ตัวอย่าง
[4] ธนาพร เพชรกูล. (2557). สายอากาศเรโซเนเตอร์อันดับศูนย์ที่ใช้แพทย์เยรูเซเลมบนพื้นฐานโครงสร้างเสมือนเห็ด. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
[5] ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่ออนไลน์). [ออนไลน์]. ชื่อเรื่อง. [สืบค้น วัน เดือน ปี]. จาก URL.
ตัวอย่าง
[5] การสื่อสารแห่งประเทศไทย. (2552). [ออนไลน์]. เศรษฐกิจพอเพียง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552]. จากhttp://www.moct.or.th/king.king_new16.html.
ตัวอย่างรายการอ้างอิงท้ายบทความ
[1] มุกดา สุขสวัสดิ์. (2544). ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
[2] กิจคณิตพงศ์ อินทอง. (2556). เทคนิคการเขียนบันทึกเสนอและการเกษียนหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ 2. จำนวน 5,000 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
[3] Havlin, J.L., Beaton, J.D., Tisdale, S.L. and Nelson, W.L. Z2005X. Soil Fertility and Fertilizers : an Introduction to Nutrient Management. New Jersey : Pearson Education, Inc.
[4] วัฒนา แก้วมณี. (2557). แบบจำลองเซลล์เชื้อเพลิงเช่นPEMอย่างง่ายสำหรับวิศวกรไฟฟ้า.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. 122-129.
[5] ผาสุก อินทราวุธ. (วันที่ 21 กรกฎาคม 2544). สังคมชนชั้นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศจีน.กรุงเทพธุรกิจ. 6-7.
[6] สาธิต บุษบก. (วันที่ 22 มิถุนายน 2552). พบฟอสซิลเต่าสกุลใหม่และชนิดของโลกในไทย.ไทยรัฐ. 5.
[7] Di Rao, A. (March 15, 1995). Trekking through college : Classes explore modern society using the world of star trek. Los Angeles Times. P.A3.
[8] ธนาพร เพชรกูล. (2557). สายอากาศเรโซเนเตอร์อันดับศูนย์ที่ใช้แพทย์เยรูเซเลมบนพื้นฐานโครงสร้างเสมือนเห็ด. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[9] การสื่อสารแห่งประเทศไทย. (2552). [ออนไลน์]. เศรษฐกิจพอเพียง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552]. จาก http://www.moct.or.th/king.king_new16.html.
[10] ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา. (2560). [ออนไลน์]. ความดันโลหิตสูง. [สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2550]. จาก http://www.thaiheartweb.com.