แบบจำลองการพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของคณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิต ในสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของคณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิต 2) สร้างแบบจำลองการพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของคณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิตและ3)ศึกษาผลการใช้แบบจำลองการพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของคณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ คณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิต จำนวน 50 คน จากสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 จำนวน 10 วิทยาลัยๆ ละ 10 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)ผลการวิจัยพบว่า
1. ศักยภาพการเป็นนักวิจัยของคณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิตประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ด้านการคิด ด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง ด้านการเรียนรู้ระเบียบวิธีวิจัย และด้านการสื่อสาร
- แบบจำลองการเพิ่มศักยภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของคณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิต มีลักษณะ 4 ประการ คือ 1) ส่งเสริมให้คณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิตรู้จักและเข้าใจตนเอง 2) ส่งเสริมให้คณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิตสร้างทีมและทำงานเป็นทีม
- ผลการใช้แบบจำลองการพัฒนาศักยภาพการเป็นนักวิจัยของคณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิตพบว่า
3.1 คณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิตมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับศักยภาพการเป็นนักวิจัยทุกด้านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
3.2 คณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิตมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับความสามารถในการเสริมพลังการทำงานในตนเอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
3.3 คณาจารย์ผู้สอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิตมีศักยภาพการเป็นนักวิจัยทุกด้าน และมีความสามารถเสริมพลังการทำงานในตนเองสอดคล้องกับการรับรู้ตนเอง