อุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือน

Main Article Content

กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและสร้างอุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือน 2) ทดสอบอุปกรณ์เตือนก๊าซ (แอลพีจี) รั่วไหลในครัวเรือน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานอุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน          1) การศึกษาสภาพปัญหาของผู้ใช้ก๊าซ(แอลพีจี)ในการประกอบอาหาร 2) ออกแบบโครงสร้างของอุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ประเมินโครงสร้างอุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือน 3) สร้างอุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือนตามแบบโครงสร้าง แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คนประเมินอุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือน 4) ทดลองใช้อุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือน จำนวน 10 ครั้ง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ประกอบการร้านอาหารและบุคคลทั่วไป เขตอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกการหาประสิทธิภาพและแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้การวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า


  1. อุปกรณ์เตือนก๊าซ (แอลพีจี) รั่วไหลในครัวเรือน มีส่วนประกอบหลักคือไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์

  2. ประสิทธิภาพอุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือน การวางอุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือนห่างจากถังก๊าซระยะห่าง 3 เมตร อุปกรณ์เตือนก๊าซ(แอลพีจี)รั่วไหลในครัวเรือน มีความเร็วในการแจ้งเตือนก๊าซรั่วไหล เฉลี่ย 15 วินาทีและห่างจากถังก๊าซระยะห่าง 5 เมตร มีความเร็วในการแจ้งเตือนก๊าซรั่วไหล เฉลี่ย 28.6 วินาที

  3. ความพึงพอใจของผู้ประกอบการร้านอาหารและบุคคลทั่วไปต่อการใช้อุปกรณ์เตือนก๊าซ (แอลพีจี) รั่วไหลในครัวเรือน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย