การศึกษา ความเร็วที่ใช้ในการป้อนลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (การควบคุมระยะอาร์ก) สำหรับงานเชื่อมไฟฟ้า ในงานเชื่อมเดินแนว งานเชื่อมต่อมุม และงานเชื่อมต่อตัวทีท่าราบ

Main Article Content

กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเร็วที่ใช้ในการป้อนลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (การควบคุมระยะอาร์ก) สำหรับงานเชื่อมไฟฟ้า ของงานเชื่อมเดินแนว งานเชื่อมต่อมุม และงานเชื่อมต่อตัวทีท่าราบ กลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอนแผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ จำนวน 4 คน  และนักเรียนนักศึกษาแผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์  ที่เคยเป็นตัวแทน เข้าแข่งขันทักษะวิชาชีพ สาขางานเชื่อมโลหะ ในระดับภาคเหนือ จำนวน 4 คน  ทำการเชื่อมชิ้นงาน ลงบนแผ่นเหล็กกล้า ขนาด 6 x 50 x 150 มิลลิเมตร  ด้วยกระบวนการเชื่อมไฟฟ้า โดยใช้ลวดเชื่อม E 6013 ขนาด 2.6 มิลลิเมตร ตามใบงาน งานเชื่อมเดินแนว งานเชื่อมต่อมุม และงานเชื่อมต่อตัวทีท่าราบ จดบันทึกความยาวของลวดเชื่อมที่ถูกใช้ไป และเวลาที่ใช้ในการเชื่อม ของแต่ละใบงานจากนั้น ได้นำความยาวของลวดเชื่อมที่ถูกใช้ไป หารด้วยเวลาที่ใช้ในการป้อนลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ เพื่อคำนวณหาความเร็วเฉลี่ยที่เหมาะสมในการป้อนลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ เข้าไปที่บ่อหลอมเหลว ซึ่งเปรียบเสมือน เป็นการควบคุมระยะอาร์ก ให้คงที่สม่ำเสมอ นั่นเอง


ผลการวิจัย พบว่า ความเร็วที่ใช้ในการป้อนลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (การควบคุมระยะอาร์ก) สำหรับงานเชื่อมไฟฟ้า ของงานเชื่อมเดินแนว ที่เหมาะสม โดยเฉลี่ย 3.88 มิลลิเมตรต่อวินาที  ความเร็ว ที่ใช้ในการป้อนลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (การควบคุมระยะอาร์ก) สำหรับงานเชื่อมไฟฟ้า ในงานเชื่อมต่อมุม ที่เหมาะสม โดยเฉลี่ย 4.30 มิลลิเมตรต่อวินาที  และความเร็ว ที่ใช้ในการป้อนลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (การควบคุมระยะอาร์ก) สำหรับงานเชื่อมไฟฟ้า ในงานเชื่อมต่อตัวทีท่าราบ ที่เหมาะสม โดยเฉลี่ย 5.10 มิลลิเมตรต่อวินาที

Article Details

บท
บทความวิจัย