การวิจัยเส้นทางนวัตกรรมการศึกษาและการสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นสูงในยุคใหม่

Main Article Content

กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3

บทคัดย่อ

การปริทัศน์บทความวิจัยนี้เป็นการปริทัศน์งานวิจัยของ Ming  Zeng จาก Hunan Modern Logistics College Changsha, China เรื่อง การวิจัยเส้นทางนวัตกรรมการศึกษาและการสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นสูงในยุคใหม่ (Research on the Innovation Path of Education and Teaching in Higher Vocational Colleges in the New Era) ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2020 ใน ATLANTIS  PRESS เป็นบทความที่ใช้สำนวนภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย เรียบเรียงประเด็นการนำเสนอได้ดีและครอบคลุมประเด็นปัญหาการวิจัย ทั้งนี้ ผู้ปริทัศน์มีความเห็นโดยแยกเป็นประเด็น ดังนี้


  1. แหล่งข้อมูลการศึกษา แหล่งข้อมูลมีความหลากหลายและสอดรับกับปัญหาการวิจัย โดยผู้วิจัยได้ศึกษาและอ้างอิงข้อมูลเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศจีน ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ
    การจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา แหล่งข้อมูลที่ผู้วิจัยอ้างถึงครอบคลุมข้อมูลด้านนวัตกรรมการสอนของอาจารย์รุ่นใหม่ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นสูงและระดับปริญญาโท การปฏิรูปการสอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นสูง วิธีปรับปรุงการสอนในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของครูอาชีวศึกษา รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา
    และปัญหาการสอนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยด้านอาชีวศึกษา จากข้อมูลทางเอกสารดังกล่าวผู้ปริทัศน์มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมและจะช่วยให้ข้อค้นพบงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไปได้

 
 
 

 


 


* นักวิชาการศึกษาชำนาญการ  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  


E-mail : onreda_spb@hotmail.com


 


และจะมีความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่นำไปใช้ประโยชน์มากขึ้น หากได้มีการศึกษาและอ้างอิงข้อมูลเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยด้านนวัตกรรมการศึกษาและการสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงของต่างประเทศ โดยอาจคัดสรรเฉพาะบางประเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีและมีความเข้มแข็งด้านการจัดการอาชีวศึกษา เช่น ประเทศเยอรมัน ที่มีการจัดการอาชีวศึกษามาช้านาน โดยมีวิทยาลัยอาชีวศึกษาในแทบทุกเมือง เกือบสองพันวิทยาลัย และมีหลักสูตรการเรียนที่ได้รับใบรับรองวุฒิการศึกษาถึงกว่าสามร้อยวิชาชีพ ซึ่งข้อมูลนี้จะทำให้การวิจัยเส้นทางนวัตกรรมการศึกษาและการสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นสูงในยุคใหม่ ได้เห็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่กว้างขึ้น


  1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นอาจารย์และนักเรียนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา ดำเนินการสัมภาษณ์อย่างละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาและนวัตกรรมการสอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นสูงและได้รับข้อมูลโดยตรง ผู้วิจัยได้มีการจัดสัมมนา 5 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 46 คน มีการศึกษาดูงานในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 15 แห่ง สัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 38 คน รับฟังการรายงานจากโรงเรียนมัธยมศึกษา 15 คน
    วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างมีความเหมาะสมและหลากหลายทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดและครอบคลุม สิ่งที่ต้องการศึกษา และจะสมบูรณ์มากขึ้นหากมีการได้ข้อมูลประกอบการวิจัยจากระดับผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งควรเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นผู้กำหนดทิศทางหลักในการจัดการศึกษาและสามารถสะท้อนความเห็นในเชิงนโยบายได้ อาจจะเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สัมภาษณ์มีโอกาสใกล้ชิดกับ
    ผู้ถูกสัมภาษณ์ สามารถถามเจาะลึกล้วงคำตอบได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนในประเด็นที่ต้องการถาม เป็นการติดต่อสื่อสารโดยตรง ทำให้เข้าใจในข้อมูลระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ได้เป็นอย่างดี และสามารถสังเกตความรู้สึกของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ว่ามีความเข้าใจในคำถามหรือจริงใจกับการตอบด้วยหรือไม่ อีกทั้ง การสัมภาษณ์ยังเป็นวิธีการที่ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความอิสระในการตอบ ไม่ยึดติดกรอบแนวคิดของคนอื่น ๆ มากจนเกินไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางข้อมูลที่ครบทุกองค์ประกอบ จะทำให้งานวิจัยจะมีความหนักแน่น น่าเชื่อถือและนำไปสู่เส้นทางค้นพบนวัตกรรมการศึกษาและการสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นสูงในยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์

  2. ผลการศึกษา ได้ข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์และอาจจะช่วยยืนยันทิศทางการปฏิรูปการจัดการอาชีวศึกษาชั้นสูงได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องนวัตกรรมการศึกษาและการสอน แนวทางและวิธีการปรับปรุงคุณภาพการสอนและการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อให้สามารถทำงานด้านการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น วิทยาลัยอาชีวศึกษาจะต้องดำเนินการปรับปรุงการจัดการศึกษาและวิธีการสอนแบบเดิม โดยมุ่งเน้นนวัตกรรม วิทยาลัยต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีทั้งด้านอาคาร สถานที่ ความพร้อมด้านทรัพยากร โดยเฉพาะด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ดี เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่ดี ด้วยการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาใน 3 ด้าน คือ 1) นวัตกรรมด้านวิธีการสอน รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกระตุ้นศักยภาพ 2) การปรับปรุงกลไกการประเมินผลและสร้างบรรยากาศสำหรับนวัตกรรมการสอน 3) ให้มีการแข่งขันทักษะการสอนของครู แข่งขันทักษะวิชาชีพ การสร้างสรรค์กิจกรรมฝึกอบรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมการสอนของครู ซึ่งวิทยาลัยจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สร้างนวัตกรรมการศึกษา วิธีการจัดการเรียนการสอน และจะต้องบรรลุการสอนโดยใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ก้าวสู่การปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาและการฝึกอบรมตามเป้าหมายของการจัดการอาชีวศึกษาชั้นสูง ในส่วนนี้ผู้ปริทัศน์ได้ศึกษางานวิจัยอื่นที่ศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรม ด้านการศึกษา เรื่อง นวัตกรรมการศึกษาพิเศษ ของ Nancy Morris ปี ค.ศ. 2019 ได้เสนอผลการศึกษาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยกล่าว่า นวัตกรรมทางการศึกษากำลังได้รับการศึกษาอย่างหลากหลาย เริ่มตั้งแต่ด้านเทคโนโลยีไปจนถึงหลักสูตรและการเขียนโปรแกรม บริบทและเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดในการนำนวัตกรรมไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งนวัตกรรมถือเป็นองค์ประกอบที่ทรงพลังในการศึกษาสมัยใหม่และเป็นกุญแจสำคัญในกระบวนการคิดใหม่ว่า ระบบการศึกษาจะต้องพัฒนาไปอย่างไรในอนาคต จากงานวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการศึกษาพิเศษ ที่แสดงข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันทำให้ข้อค้นพบของงานวิจัยเรื่อง การวิจัยเส้นทางนวัตกรรมการศึกษาและการสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นสูงในยุคใหม่มีความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไปได้เป็นอย่างดี

  3. การนำเสนอข้อมูลผลการศึกษา ผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางและแผนภูมิแท่ง ผู้ปริทัศน์มีความเห็นว่า หากมีการนำเสนอข้อมูลในลักษณะของกราฟเส้นร่วมด้วย จะมีความสอดคล้องกับชื่อเรื่อง ทำให้เห็นเนื้อหาเด่นชัด ได้เห็นรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านและเพิ่มอรรถรสในการอ่านมากขึ้น

Article Details

บท
บทความปริทรรศน์