การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning: PjBL) โดยการใช้ไอซีทีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนวิชาการประมวลผลแบบคลาวด์ ที่สอนแบบโครงงานเป็นฐาน โดยการใช้ไอซีทีตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ศึกษาในรายวิชาการประมวลผลแบบคลาวด์ ทั้งก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานโดยการใช้ไอซีที (3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาการประมวลผลแบบคลาวด์ ที่สอนแบบโครงงานเป็นฐาน โดยการใช้ไอซีที Naresuan University
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับ ปวส.1 สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ปวส.1.3 จำนวน 33 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยการใช้ไอซีที แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนวิชาการประมวลผลแบบคลาวด์ ที่สอนแบบโครงงานเป็นฐาน โดยการใช้ไอซีที มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด (2) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาการประมวลผลแบบคลาวด์ ที่สอนแบบโครงงานเป็นฐาน โดยการใช้ไอซีที อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2555). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการ สอน. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
เบญจกาญจน์ ใส่ละม้าย.(2560). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการโดยการใช้ไอซี ทีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : ปีที่ 28 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2560.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. 2545.การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยการ เรียนรู้แบบโครงการเพื่อการเรียนรู้เป็นทีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุด ความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน : จากประสบการณ์ความสำเร็จของ โรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ : หจก. ทิพย์วิสุทธิ์.
สุดสาย ศรีศักดา.(2555).[ออนไลน์].การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 25620 จาก http//090803.wikipaces.com/sudsaitSrisakda/
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
ฉลอง ทับศรี .(2549). การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional).ชลบุรี:ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ยืน ภู่วรวรรณ.(2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชรินทร ชะเอมเทส.(2560).การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีบริหาร โดยใช้โครงการ เป็นฐาน(Project - Based Learning) สำหรับผู้เรียนระดับ ปวส. 2 สาขาการบัญชี. วิจัยชั้นเรียน. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ
อรนุช พงษา, สุธิดา ชัยชมชื่น และวิทวัส ทิพย์สุวรรณ.(2556).การพัฒนาบทเรียน ออนไลน์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพสำหรับระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ. ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
รังศิมา ชูเทียน และทศพร แสงสว่าง. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ปีที่ 4 ฉบับที่1 มกราคม – มิถุนายน 2559 หน้า 19 – 32.